ฝากเงินอย่างไรให้ได้ดอกเบี้ยสูง

ความรู้เบื้องต้นการเงิน

บทความนี้จะเกี่ยวข้องกับบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยสูง เพราะช่วงที่ผ่านมาในวิกฤติโรคระบาดโควิด 19 ทำให้การฝากเงินกับธนาคารลดลดลง และหลาย ๆ คนก็ประสบกับปัญหาทางการเงิน แต่ถึงอย่างไรก็ตามการฝากเงินกับธนาคารก็เป็นทางเลือกที่ให้ความปลอดภัยสูง และปัจจุบันก็มีประเภทเงินฝากออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าแต่ก่อนมาก แต่ด้วยภาพจำของคนในปัจจุบันกับเงินฝากออมทรัพย์ก็จะได้ดอกเบี้ยที่ต่ำมาก เรียกได้ว่าเป็นหน่วยสตางค์เลย ดังนั้น การฝากประเภทออมทรัพย์แบบประจำระยะยาว ตั้งแต่ 24 – 48 เดือน ก็จะทำให้ได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าหลายเท่า และยังเป็นประเภทปลอดภาษีอีกด้วย

การฝากออมทรัพย์แบบประจำระยะยาว ในปัจจุบันนี้ทำให้ง่ายและสะดวกมากขึ้น เพราะสามารถให้ตัดเงินผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคารได้เลย เป็นการฝากรายเดือน เดือนละเท่า ๆ กัน จนครบจำนวนระยะเวลาที่ตกลงไว้ และไม่จำเป็นต้องเดินทางไปธนาคารเพื่อฝากรายเดือน ดั้งนั้นทำให้การเก็บเงินนั้นง่ายมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเริ่มต้นต่อเดือนเพียงเดือนละ 1,000 บาท 

วันนี้เรามาดูวิธีการฝากเงินยังไงให้ได้ดอกเบี้ยสูงทั้ง 5 ข้อกันค่ะ

1. บัญชีเงินออมดิจิทัล

เงินออมแบบประเภทออมทรัพย์ไม่มีสมุดฝากเงิน ซึ่งบัญชีประเภทนี้จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่ 0.5 – 1.5 % และการฝาก ถอน โอนเงินจะสามารถทำในระบบออนไลน์ได้ ซึ่งการฝากเริ่มต้น ไม่มีเงื่อนไขในการฝากขั้นต่ำ 

ตัวอย่างเช่น ฝากเงิน 1,000 บาท ดอกเบี้ย 0.5 % ต่อปี เมื่อครบปีก็จะได้ดอกเบี้ยประมาณ 5 บาท ซึ่งก็จะมากกว่าการฝากออมทรัพย์ทั่วไปถึง 1 เท่า ที่จะได้อยู่ที่ 2.5 บาทเท่านั้น

2. การเปิดบัญชีเงินฝากประจำแบบปลอดภาษี

2. การเปิดบัญชีเงินฝากประจำแบบปลอดภาษี

เงินฝากประเภทนี้จุดเด่นเลยคือ ไม่เรียกเก็บภาษี ซึ่งสามารถเริ่มต้นฝากได้ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป และอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ 1.25% – 2.50% แต่จะต้องฝากทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ เดือนอย่างเท่า ๆ กัน ตามเวลาที่ได้เปิดบัญชีไว้ ตั้งแต่ 24 – 36 เดือน

บัญชีประเภทนี้จะทำได้ 1 คน ต่อ 1 บัญชีเท่านั้น และจะเหมาะกับผู้ที่เริ่มออมเงินและต้องการมีวินัยในการออมเงินอย่างมาก และไม่ชอบความเสี่ยง เมื่อครบสัญญาแล้วมีตั้งเงินต้นและดอกเบี้ยครบตามตกลง

ตัวอย่างเช่น ฝากเงินเดือนละ 1,000 บาททุกเดือน เมื่อครบสัญญา 24 เดือน จะมีเงินต้น 24,000 บาท และดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.30% ดังนั้นจะได้ดอกเบี้ยตลอด 24 เดือนเป็นจำนวนเงิน 552 บาท 

3. สลากออมทรัพย์

3. สลากออมทรัพย์

การซื้อสลากออมทรัพย์ก็เป็นอีกหนึ่งในการออมเงินที่น่าสนใจ และมีอยู่ 2 ธนาคารเท่านั้นที่เปิดสลาก ได้แก่ ธนาคารออมสินและธนาคารอาคาราสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งระยะเวลาการลงทุนตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ดอกเบี้ยของสลากออมทรัพย์จะเป็นการลุ้นรางวัล คล้าย ๆ กับลอตเตอรี่ แต่เงินต้นของเรายังอยู่ครบ และสลากออมทรัพย์บางประเภทจะมีดอกเบี้ยเพิ่มจากรางวัลที่เราจะได้ลุ้นทุกเดือนแล้ว

โดยรางวัลจะมีตั้งแต่ 20 บาทไปจนถึง 10 ล้านบาท ดังนั้นใครชอบการลุ้นรางวัลต้องมาซื้อสลากลุ้นกัน

4. กองทุนรวม

 กองทุนเป็นประเภทการออมเงินที่มีความเสี่ยง ซึ่งความเสี่ยงมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับตัวเราเป็นคนเลือก ซึ่งผลตอบแทนนั้นจะมีโอกาสได้มากกว่า 2% และเมื่อเรามีความรู้ด้านการลงทุนแล้ว จะสามารถเลือกกองทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเดิมได้อีกเช่นกัน ซึ่งประเภทของกองทุนรวมนั้นตัวอย่างเช่น ตราสารหนี้ ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ หุ้น เป็นต้น 

ความเสี่ยงของแต่ละกองทุนนั้นก็มีความแตกต่างกันไปตั้งแต่ระดับ 1 – 8 ตั้งแต่เสี่ยงต่ำ ปานกลาง มาก และไปจนถึงมากที่สุด ซึ่งในแต่ละความเสี่ยงก็จะอธิบายรายละเอียดพร้อมกับผลตอบแทนย้อนหลังทั้งหมดให้กับผู้ลงทุนอ่านในหนังสือชี้ชวนกองทุน

5. เงินฝากประจำทั่วไป 

การฝากเงินประเภทนี้อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 0.5% – 1.5% ซึ่งขั้นต่ำในการฝาก 1,000 บาท โดยจำเป็นต้องฝากตามสัญญาที่ได้ตกลงไว้ตอนเปิดบัญชี ตั้งแต่ 3 เดือนไปจนถึง 48 เดือน แต่ประเภทนี้จะต้องเสียภาษีดอกเบี้ย หัก ณ ที่จ่ายประมาณ​ 15% แต่ในบัญชีประเภทนี้นั้นจะสามารถเปิดได้ 1 คน ต่อหลายบัญชี ดังนั้นจะเหมาะกับผู้ที่มีเงินต้นจำนวนมาก เพราะการฝากประเภทนี้จะเป็นการฝากเงินก้อนตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น ฝากเงินครั้งแรก 200,000 บาท แล้วอีก 3 เดือนถัดมาฝากเพิ่มอีก 300,000 บาท ซึ่งดอกเบี้ยนั้นก็จะเป็นขั้นบันได ยิ่งฝากนานเท่าไรก็จะยิ่งดอกเบี้ยสูง  ผู้ฝากจะต้องมีวินัยในการออมเงิน และไม่อยากนำเงินต้นของเราไปเสี่ยงเลย

ทั้งนี้การฝากเงินอย่างไรให้ได้ดอกเบี้ยสูงนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับตนเองว่าเรายอมรับหรือสะดวกในการจัดการกับเงินของเราอย่างไร คนที่มีเงินทุนสูง ๆ ก็จะอาจจะเลือกที่จะไปฝากประจำระยะสั้น ๆ เพราะได้ผลตอบแทนที่สูง แต่ก็จะมาด้วยข้อเสียคือจะต้องเสียภาษีดอกเบี้ย ส่วนผู้ที่มีเงินทุนน้อยก็อาจจะเลือกเป็นการฝากประจำแบบประเภทปลอดภาษี เพราะเป็นการฝากในจำนวนเงินเท่า ๆ กันทุก ๆ เดือน ในจำนวนเงินที่ไม่ต้องมาก ดังนั้นการบริหารจัดการทางการเงินนั้นก็จะต้องศึกษารายละเอียดจากธนาคารให้ดี เผื่อไม่ให้เราเสียประโยชน์ หรือเกิดความเข้าใจผิดจากเงื่อนไขทั้งหมด

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG