การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% หรือ VAT เราทุกคนจำเป็นต้องรู้เลยว่า ใครจะต้องเสียเงินตรงนี้บ้าง แล้วร้านค้าประเภทไหนที่จะต้องเสียเงินในส่วนตรงนี้ แล้วที่สำคัญเลยว่า เงินภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเก็บไปใช้เพื่ออะไรในประเทศ ซึ่งเมื่อช่วงปี 2561 มีประกาศเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 10% และเมื่อเพิ่มขึ้นมาเป็น 10% จะกระทบกับเศรษฐกิจในประเทศไทยอย่างไร และกระทบต่อเหล่าผู้ประกอบการมากน้อยแค่ไหน เราจะต้องมาดูบทความนี้เลยว่าเป็นอย่างไร
ก่อนอื่นจะต้องรู้ว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT” คืออะไร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% หรือ VAT เป็นภาษีประเภทหนึ่ง ที่จะจัดเก็บจากมูลค่าของการซื้อขายสินค้า รวมไปถึงการให้บริการ โดยปกติแล้วผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% จากผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นภาษีทางอ้อมที่เก็บจากคนที่ซื้อสินค้าและบริการ โดยจะถูกเก็บในแต่ละขั้นตอนการผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศ และผู้ประกอบการจะต้องนำส่งให้กับกรมสรรพากรจัดเก็บอีกที
กิจการและธุรกิจแบบไหนที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ซึ่งกฎหมายของไทยจะกำหนดให้ 3 กิจการต่อไปนี้ ที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- การขายสินค้าในประเทศโดยผู้ประกอบการ
- การให้บริการในประเทศโดยผู้ประกอบการ ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงการบริการที่ทำในต่างประเทศและนำมาใช้บริการนั้นในประเทศ
- การนำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศโดยผู้นำเข้า
วิธีการคิดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์การเก็บภาษีซ้ำซ้อน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ ภาษีขายและภาษีซื้อ หากเรามีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ เราจำเป็นจะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นส่วนต่าง แต่หากเรามีภาษีซื้อที่มากกว่าภาษีขาย เราก็สามารถขอเงินคืนภาษีส่วนต่างได้เช่นกัน
วิธีการคิดสูตรคำนวณ VAT : ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ราคาสินค้า / บริหาร * 7%
ตัวอย่างเช่น บริษัท A ขายเคสโทรศัพท์ราคา 107 บาท โดยต้นทุนอยู่ที่ 100 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 บาท ซึ่งทางบริษัท A จะต้องนำมาส่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับสรรพากรในทุก ๆ เดือน
ก่อนที่ภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็น 7% แบบปัจจุบันนี้ ในช่วงปี 2535 ภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยนั้นเป็น 10% แต่เมื่อในปี 2540 มีการออกพระราชกฤษฎีกาลดภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีการพิจารณาในทุก ๆ 2 ปี เหลืออยู่ที่ 7% เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายกับประชาชนในช่วงที่ประเทศประสบวิกฤตเศรษฐกิจการเงิน หรือวิกฤตต้มยำกุ้ง ดังนั้นในปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยก็ยังเป็น 7% อยู่เช่นเดิม เพราะถ้าหากปรับภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 10% ก็จะทำให้ต้นทุนของสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นมาก ๆ ทำให้คนอยากซื้อของน้อยลง ก็จะทำให้เศรษฐกิจนั้นซบเซา ตลาดก็มีเงินหมุนเวียนน้อยลง รวมถึงกำลังผลิตของเจ้าของกิจการก็จะมีกำลังในการผลิตน้อยลงอีกเช่นกัน
ปัญหาของประเทศไทยที่กำลังเผชิญอะไรอยู่

การจัดเก็บอัตราภาษีภายในประเทศได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น จะทำให้กระทบต่องบประมาณในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ แต่สิ่งเหล่านี้มักเป็นสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่จะมองข้าม และมักจะไม่อยากเสียภาษีในอัตราที่สมเหตุสมผล เพราะประชาชนส่วนใหญ่นั้นมองว่าภาษีคือ ภาระการเงินประจำปี แต่กลับไม่ได้มองว่าเป็นหน้าที่ของพลเมือง แต่ต้องการที่จะได้สวัสดิการที่ดี โครงสร้างพื้นฐานที่ดี คุณภาพชีวิตที่ดี เหมือนในต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริง
ภาษีมูลค่าเพิ่มถูกนำไปใช้ประโยชน์อะไรกับประชาชน
การจ่ายภาษีของประชาชนไม่เพียงแค่ทำให้ประเทศไทยมีงบประมาณที่เพียงพอในการบริหารราชการ เพื่อที่ประชาชนจะได้กลับไปในรูปแบบของสวัสดิการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็คือผลดีที่ประชาชนจะได้จากการชำระภาษี สุดท้ายแล้วเงินภาษีที่ชำระมาคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองในด้านต่างๆ โดยภาครัฐจะเป็นผู้จัดสรรตามความเหมาะสมนั้นเอง โดยจะถูกจัดสรรไปเป็นงบประมาณตามลักษณะงาน ดังนี้ (อิงตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี) ได้แก่ งบการศึกษา งบสวัสดิการผู้สูงอายุ งบด้านความมั่นคง งบการขนส่ง งบสาธารณสุขอื่น (ซึ่งรวมถึงบัตรทอง) งบโรงพยาบาล งบตำรวจ งบในลักษณะงานอื่น ๆ
ประเทศพัฒนาแล้วเก็บ VAT ที่กี่เปอร์เซ็นต์
เรามาดูกลุ่มประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้ามีอัตราการจัดเก็บภาษี VAT ที่แตกต่างกัน แต่ถึงอย่างไรการจัดเก็บภาษีได้มาก ๆ ก็จะทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและบริการสาธารณะที่ดีมากขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะทางรัฐบาลก็จะมีงบประมาณจะมีเงินเพียงพอที่จะนำไปจัดสรรดูแลระบบสาธารณะและสวัสดิการต่าง ๆ ของประชาชนที่ดีมากขึ้น ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลกมีการเก็บภาษี VAT ในอัตราต่างๆ ดังนี้
- ญี่ปุ่น VAT 8%
- เกาหลีใต้ VAT 10%
- จีน VAT 17%
- ออสเตรเลีย VAT 10%
- นิวซีแลนด์ VAT 12.5%
- นอร์เวย์ VAT 25%
- สหราชอาณาจักร VAT 20%
- เยอรมัน VAT 19%
- ออสเตรีย VAT 20%
- เดนมาร์ก VAT 25%
- ฟินแลนด์ VAT 23%
- ฝรั่งเศส VAT 19%
- อิตาลี VAT 20%
- แคนาดา VAT 7 – 25%
ซึ่งเฉลี่ยทั้งโลกจัดเก็บภาษีอยู่ที่ 15.5% และประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มน้อยที่สุดในภูมิภาคเอเชีย หากเทียบกับประเทศสิงคโปร์
ดังนั้นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย ก็มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยนั้นได้มีงบประมาณเพื่อมาดูแลสวัสดิการประชาชนที่ดีมากขึ้น พร้อมกับช่วยทำให้เข้าถึงประชาชนได้ทุก ๆ ชนชั้น และการลดค่าภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะทำให้เศรษฐกิจในประเทศ เพราะทำให้ประชาชนมีค่าใช้จ่ายลดลง เพื่อทำให้ประชาชนนั้นมีกำลังในการซื้อที่มากขึ้น เม็ดเงินในหมุนเวียนในตลาดก็เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ทุกคนมีงาน มีเงินและมีชีวิตที่ดีมากขึ้นเช่นกัน