ภาษีคริปโตจะทำการจัดเก็บภาษีก็ต่อเมื่อทุก ๆ ธุรกรรมนั้นมีกำไร และจะจัดเก็บภาษี 15% ของกำไร ซึ่งทั้งหมดนี้จะรวมไปถึงเงินได้จากทุก ๆ ช่องทางที่เกิดจากคริปโต นอกจากการเรียกเก็บภาษี ก็ยังสร้างผลกระทบให้กับนักลงทุนไม่น้อย แต่ผู้ที่จะกระทบมากที่สุดก็จะเป็นกลุ่มนักลงทุนที่มีการซื้อขายบ่อยครั้ง ซึ่งทำให้กระทบต่อการลงทุนของนักลงทุนแน่นอน และก็เป็นกระแสที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากเช่นกัน
ภาษีคริปโต แท้จริงแล้วนั้นมีกฎหมายมาตั้งแต่ช่วงปี 2561 แต่ในขณะเดียวกัน ทางคริปโตและบล็อกเชน ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น De-Fi, NFT, Game-Fi และอื่น ๆ ที่ทำให้หลาย ๆ คนไม่แน่ใจว่าภาษีของไทยจะครอบคลุมในจุดไหนบ้าง
กฎหมาย “ภาษีคริปโต” ในปัจจุบัน
โดยปกติแล้วถ้าในกรณีเงินได้นั้นจะไม่ได้รับการยกเว้นจากภาษี ซึ่งจะต้องยื่นแบบทั้งหมด แต่ในส่วนของเงินได้ที่มาจากคริปโตในปัจจุบันก็จะสามารถแบ่งได้ตามนี้
- กำไรจากการขาย เป็นประเภทเงินได้แบบ 40(4)(ณ) จะเป็นการคิดแยกเป็นรายธุรกรรม ผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผู้ซื้อหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
- นำไปชำระสินค้าหรือบริการ เป็นประเภทเงินได้แบบ 40(4)(ณ) ผู้ที่นำไปชำระสินค้าและบริการ หากเหรียญมูลค่ามากกว่าตอบที่ได้มา ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ซึ่งผู้ชำระสินค้าและบริการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
- การให้เปล่า เป็นประเภทเงินได้แบบ 40(8) ซึ่งผู้รับต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.94 ผู้ที่จ่ายรางวัลที่มีมูลค่าเกิน 1,000 บาทขึ้นไป และมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 5%
- ได้รับทางมรดก เป็นประเภทเงินได้แบบ 40(8) ผู้รับจะต้องยื่นแบบตอบรับ ไม่ต้องยื่นตอนที่ขาย
- ได้รับจากการทำงาน เป็นประเภทเงินได้แบบ 40(5) – (8) ผู้รับจะต้องยื่นแบบตามประเภทของงานที่ได้รับ
- การขุดเหรียญ เป็นประเภทเงินได้แบบ 40(8) ผู้ขุดเหรียญจะต้องมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.94
- การฝากเหรียญ หรือ Staking เป็นประเภทเงินได้แบบ 40(4) (ซ) ผู้ฝากจะต้องมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ซึ่งตัวกลางจะรับแลกเปลี่ยนมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
ซึ่งยังมีข้อถกเถียงอยู่มากเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลในการเทรด ซึ่งนักลงทุนหลาย ๆ ท่านที่มีธุรกรรมจำนวนมาก ทำให้การสรุปรายละเอียดกำไรขาดทุนเป็นแต่ละธุรกรรมนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ และการจัดเก็บภาษี ณ ที่จ่าย ของผู้ชำระก็ยังไม่ได้มีการเรียกเก็บ เพราะความเป็นจริงแล้วนั้นมีความยุ่งยากในการจัดเก็บข้อมูลอยู่อย่างมาก
เรามาทำความเข้าใจกับระบบภาษี
ในส่วนของการคิดภาษีที่ยังมีความเข้าใจผิดอยู่ อย่างเรื่องของการคิดภาษีกำไร 15% ซึ่งตามข้อกำหนดคือจะต้องถูกจัดเก็บหัก ณ ที่จ่ายไปก่อน แต่เมื่อเรานำมายื่นแบบรวมกับรายได้ทั้งปีของเรานั้นจะถูกนำมาคำนวณในฐานภาษีใหม่ตามฐานรายได้ของเราเอง
และหากใครมีรายได้ทั้งปีต่ำกว่าฐาน 15% เงินที่จะต้องถูกเก็บไปตอนหัก ณ ที่จ่ายนั้นก็จะมีสิทธิได้คือและจะต้องเสียตามฐานภาษีที่แท้จริงของเราได้
ผลกระทบจากภาษีคริปโต
ผลกระทบจากการเรียกเก็บภาษีคริปโตนั้นจะกระทบกับผู้ที่เทรดคริปโตในตลาดโดยตรง ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงกับผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นจำนวนมาก เพราะว่านอกจากภาระภาษีที่สูงมากขึ้น แต่ยังกระทบในด้านของเวลาเพื่อที่จะรวบรวมและเก็บข้อมูลการเทรดไว้ด้วยอีกเช่นกัน ดังนั้นก็จะทำให้นักลงทุนเลือกที่จะปรับลดการเทรดลงและพร้อมกับมีแนวโน้มที่จะย้ายแพลตฟอร์มในการลงทุนไปเทรดที่ต่างประเทศ เพราะการเรียกเก็บภาษี 15% นั้นเป็นจำนวนที่ไม่น้อยลงเลยทีเดียว ซึ่งก็ไม่ค่อยคุ้มค่าในการเทรดเลย
นอกจากนักลงทุนที่ย้ายไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น และพยายามแลกเงินนอกระบบอย่างการผ่านระบบ Peer To Peer มากขึ้นไปด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี และเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้คนนั้นถูกโกงและอาจจะเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย
ข้อควรระวังด้านภาษีสำหรับนักเทรดคริปโต
เพราะข้อกำหนดบางอย่างนั้นยังไม่ได้ชัดเจน แต่นักเทรดจะต้องระมัดระวังข้อมูลการซื้อขายของตนเอง เพราะกฎหมายนั้นถูกบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2561 แล้ว อาจจะถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังและรวมไปถึงเบี้ยปรับได้เช่นกัน
สิ่งที่เราจะต้องทำในปัจจุบัน ได้แก่ การเก็บข้อมูลต้นทุนกำไรทั้งหมดอย่างละเอียดให้ถูกต้อง เพราะเมื่อถึงเวลาที่เราจะต้องยื่นภาษี เราก็จะต้องสามารถแจกแจงรายละเอียดต้นทุน กำไร ขาดทุนได้ เพื่อทำให้ไปคำนวณภาษีได้จริง ๆ แต่ถ้าเราไม่มีหลักฐานให้ทางสรรพากรตรวจสอบก็จะทำให้จะนำเงินที่มีอยู่ทั้งหมดมาคิดคำนวณภาษีและเป็นเงินได้
เมื่อเรารู้ว่าภาษีคริปโตคืออะไรแล้ว นักเทรดทุกคนจะได้จัดเก็บข้อมูลของตนเอง เพื่อทำให้เรามีหลักฐานอย่างชัดเจน และเพื่อประโยชน์ทางการเงินของเราเองทั้งหมด และยังสามารถได้กำไรอย่างชัดเจนอีกเช่นกัน ทั้งหมดนี้ทางสรรพกรนั้นก็ยังไม่ได้มีการเรียกเก็บแต่อย่างใด แต่นักเทรดก็จะต้องติดตามข่าวสารภาษีอย่างตลอดเวลา และจะต้องทำความเข้าใจอย่างละเอียดอีกเช่นกัน ที่สำคัญอย่าตื่นตระหนกกับข่าวที่ได้รับมา