อยากจะมีอิสรภาพทางเงิน จะต้องวางแผนการเงินอย่างไรให้เราไม่ต้องมานั่งกังวลว่า เงินจะไม่พอใช้ เรื่องแบบนี้จะต้องเริ่มต้นวางแผนมาตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน เพราะจะต้องใช้ระยะเวลายาวนานนับปีกว่าที่จะทำให้เรามีอิสรภาพทางการเงินได้ และยังมาพร้อมกับทั้งความสามารถและความพยายามกว่าจะได้สิ่งที่เราต้องการ ดังนั้นเรามาดูวิธีการวางแผนทางการเงินอย่างไร ให้สบายไปตลอดชีวิต
“แผนการเงิน” เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่อยากจะได้ เพราะอยากจะมีอิสรภาพทางการเงินให้ได้เร็วที่สุด และในปัจจุบันนี้การวางแผนทางการเงินก็มีหลายแบบที่เลือกได้ แต่ก่อนอื่นเลย เราจะต้องรู้ว่าเรามีเป้าหมายอะไร มองอนาคตตัวเองว่าเป็นอย่างไร แล้วอยากจะมีเงินเป็นจำนวนเท่าไร ต่อเดือนใช้จ่ายเท่าไร
สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนกำลังมองข้าม เพราะคนเราส่วนใหญ่มักจะมองไปถึงปลายทางแล้วว่าอยากจะได้อิสรภาพทางการเงิน แต่ลืมมองไปว่าวิธีการเป็นอย่างไร จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ซึ่งเราจะแบ่งเป็น 2 วิธีง่าย ๆ
1.การเตรียมเงินทั้งก้อนสำหรับที่เราจะต้องใช้ทั้งชีวิต
หากมองแบบนี้แล้ว เป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ ที่คนเราจะเตรียมเงินก้อนเพื่อใช้งานตลอดชีวิตได้ ซึ่งแค่เงินเดือนในแต่ละเดือนก็แทบจะไม่เหลือเก็บแล้ว แบบนี้จะต้องทำอย่างไรดี
เราจะต้องคำนวณว่าเราจะหยุดทำงานเมื่อไร และลองคำนวณว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนเป็นจำนวนเงินเท่าไร ดังนั้นเราก็จะทราบแล้วว่าเราจะต้องเตรียมเงินเท่าไรเพื่อให้เพียงพอกับช่วงชีวิตที่เหลือ เมื่อเราสามารถเก็บเงินก้อนนั้นตามจำนวนที่ได้คำนวณไว้ได้ เราก็จะสามารถหยุดทำงานได้อย่างสบายใจ แต่วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ต้องใช้เวลานานมาก ๆ กว่าจะเก็บออมเพื่อใช้ในช่วงเกษียณอายุ
ตัวอย่างวิธีการคิดเพื่อเตรียมเงินไว้
- หากเรานำจำนวนเงินที่จะใช้ในตอนเกษียณแต่ละเดือนมาคิดเป็นปี เมื่อเราจะใช้เงินตอนเกษียณ เดือนละ 50,000 บาท ดังนั้นจะต้องใช้เงิน 600,000 บาทต่อปี
- นำอายุที่เราวางแผนว่าจะเกษียณมาลบกับอายุปัจจุบัน และลบด้วย 1 ได้แก่ ต้องการเกษียณตอนอายุ 55 ปี ปัจจุบันอายุ 26 ปี ซึ่งจำนวนปีที่เหลือก่อนที่เราเกษียณ เท่ากับ 28 ปี
- แล้วจะมีอายุถึงเท่าไร หากเราคาดว่าจะอยู่ถึง 80 ปี ก็จะต้องนำ 80 มาลบกับอายุเกษียณของเรา ก็จะได้แก่ 25 ปี
ทั้งหมดนี้เราจะต้องเตรียมเงิน 600,000 * 28 = 16,800,000 บาท
ซึ่งจำนวนนี้จะยังไม่ได้คิดอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเงินเฟ้อจะคิดตามจำนวนปีที่เหลือก่อนเราเกษียณดังนี้
ปี | เงินเฟ้อ | ปี | เงินเฟ้อ | ปี | เงินเฟ้อ | ปี | เงินเฟ้อ |
1 | 1.04 | 11 | 1.54 | 21 | 2.26 | 31 | 3.37 |
2 | 1.08 | 12 | 1.60 | 22 | 2.37 | 32 | 3.51 |
3 | 1.12 | 13 | 1.67 | 23 | 2.46 | 33 | 3.65 |
4 | 1.17 | 14 | 1.73 | 24 | 2.56 | 34 | 3.79 |
5 | 1.22 | 15 | 1.80 | 25 | 2.67 | 35 | 3.95 |
6 | 1.27 | 16 | 1.87 | 26 | 2.77 | 36 | 4.10 |
7 | 1.32 | 17 | 1.95 | 27 | 2.88 | 37 | 4.27 |
8 | 1.37 | 18 | 2.03 | 28 | 3.00 | 38 | 4.44 |
9 | 1.42 | 19 | 2.11 | 29 | 3.12 | 39 | 4.62 |
10 | 1.48 | 20 | 2.19 | 30 | 3.24 | 40 | 4.80 |
อัตราเงินเฟ้อตามจำนวน 28 ปี เป็นจำนวน 3.00 เมื่อนำมาคูณกันแล้วจะเป็นจำนวนเงิน 50,400,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากเลยทีเดียว แต่ถ้าเรายิ่งอยากจะเกษียณเร็วมากแค่ไหน ก็จะต้องมีเงินก้อนนี้ให้เร็วมากขึ้นเท่านั้น
2. การเตรียมตัวให้มี Passive Income ให้มากกว่ารายจ่ายในแต่ละเดือน
การที่เรามีรายรับมากกว่ารายจ่ายนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ยาก และมีหลายวิธีมาก ๆ ที่ทำให้เรามีรายได้ที่มากยิ่งขึ้น ได้แก่ การลงทุนไม่ว่าจะเป็น หุ้น กองทุน หรือจะเป็นอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ก็ล้วนเป็นการให้เงินไปทำงานเพื่อทำให้เกิดรายได้มากขึ้น
ตัวอย่างเช่น การซื้อคอนโด แล้วนำห้องนั้นไปปล่อยเช่าในราคา 12,000 บาท แต่จะต้องผ่อนธนาคาร 9,000 บาท ซึ่งส่วนต่างก็ถือว่าเป็น Passive Income เช่นกัน
และการออมกองทุน – ออมหุ้น เพื่อวัยเกษียณ ที่ไม่ต้องกังวลเรื่องภาษีต่าง ๆ อาจจะต้องเลือกการออมหุ้นหรือการออมกองทุน ซึ่งจะต้องเลือกหุ้นหรือกองทุนที่ดี เพื่อทำให้ลดความเสี่ยงในการลงทุน และการซื้อจะเป็นการทยอยซื้อในจำนวนเงินที่เท่า ๆ กันอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ได้ราคาเฉลี่ย ซึ่งจะทำให้เหมาะกับการลงทุนระยะยาวเพื่อวัยเกษียณ และที่สำคัญก็ควรจะเลือกกองทุนหรือหุ้นที่มีแนวโน้มจะเติบโตในระยะยาวด้วยเช่นกัน
หรือจะเป็นในเรื่องประกันชีวิตที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ได้แก่ ประกันชีวิตในวัยเกษียณ เพราะเนื่องจากเป็นการวางแผนทางการเงินเพื่อใช้ชีวิตหลัง 60 ปี เป็นการออมเงินในระยะยาวซึ่งผู้ที่ออมเงินจะต้องมีวินัยในการออมเงินมาก ซึ่งประกันก็จะได้รับความคุ้มครองชีวิตและมีการจ่ายเงินตามสิทธิประโยชน์เมื่อเกษียณ หากชำระค่าเบี้ยประกันครบกำหนด
ดังนั้นทั้งหมดนี้เรื่องการวางแผนทางเงินให้เราสบายไปทั้งชีวิต ก็สามารถวางแผนได้ง่าย และเราจะต้องรู้เท่าทันกับความต้องการของตนเองในอนาคต และเราจะต้องศึกษาหาข้อมูลรวมไปถึงความรู้ต่าง ๆ เพื่อทำให้การเงินของเรานั้นเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะทำให้เราวางแผนทางการเงินได้บรรลุเป้าหมายอย่างแน่นอน และไม่เป็นภาระให้กับคนรุ่นหลังอีกเช่นกัน ไม่แน่ว่าอาจจะทำให้ลูกหลานนั้นก็มีรากฐานทางการเงินที่เข้มแข็งอีกเช่นกัน