มนุษย์เงินเดือนหรือนักศึกษาที่พึ่งจบใหม่จะต้องศึกษาเรื่องการเสียภาษีไว้ และควรจะต้องเสียภาษีอย่างถูกต้องว่าจะต้องเสียภาษีอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง และจำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง เช่น เงินเดือนขั้นต่ำ หรือมีอะไรบ้างที่สามารถลดหย่อนภาษีได้บ้าง เป็นเรื่องที่นักศึกษาที่พึ่งจบใหม่หรือมนุษย์เงินเดือนจำเป็นต้องรู้
เงินเดือนเท่าไรถึงจะต้องเสียภาษี ?
ก่อนอื่นเลย เราจะต้องเข้าใจก่อนว่า “เงินได้” และ “เงินได้สุทธิ” แตกต่างกัน
“เงินได้” เป็นเงินรายได้ทั้งหมดที่ทำมาตลอดทั้งปี ได้แก่ เงินเดือน เงินโบนัส เงินปันผล เป็นต้น ซึ่งจะต้องยื่นภาษีในช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคมของปีถัดไป แล้วนำรายได้ของปีนั้นมาหักค่าใช้จ่าย รวมถึงการลดหย่อนภายหลังก็จะเป็น “เงินได้สุทธิ”
เราจะต้องมีรายได้เท่าไรถึงจะต้องจ่ายภาษี ครั้งนี้เรามีวิธีการคำนวณรายได้สำหรับมือใหม่ อย่างเข้าใจง่าย ๆ อย่างแรกคือหากเรามีรายได้ก็จะต้องมีการเสียภาษีเงินได้ ซึ่งเราจะต้องทราบว่าอัตราภาษีเงินได้ส่วนบุคคลธรรมดาที่ใช้คำนวณตามที่กำหนดนั้น จะต้องมีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี จะไม่ต้องเสียภาษี แต่จะต้องยื่นภาษี ดังนั้นเมื่อเรามีรายได้สุทธิตั้งแต่ 150,001 บาทขึ้นไปจะต้องเสียภาษี ซึ่งเงินส่วนที่เกินมา อาจจะเป็นเงินได้ที่มาจาก เงินโบนัส เงินได้อื่น ๆ เมื่อรวมตลอดทั้งปีแล้ว
เงินเดือนตลอดทั้งปี 160,000 บาท
โบนัส 80,000 บาท
หักเงินสะสมกองทุนประกันสังคม 9,000 บาท
**ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
เป็นจำนวนเงิน ทั้งหมด 309,000 บาท เฉลี่ยต่อเดือน 25,750 บาท
**ค่าลดหย่อนส่วนตัว สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ทุกคนจะสามารถยื่นลดหย่อนได้
- ถ้ามีบุตร ก็สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับลูกคนแรก
- ค่าฝากครรภ์และค่าทำคลอด สามารถนำมาลดหย่อน จะเป็นส่วนที่จ่ายจริงและไม่เกิน 60,000 บาทต่อท้อง
เมื่อเป็นมนุษย์เงินเดือนจะมีฝ่ายบุคคลที่จะช่วยจัดการข้อมูลเพื่อสะดวกต่อพนักงาน แต่เราจะต้องแจ้งฝ่ายบุคคลเพิ่มเติมในเรื่องของรายได้ส่วนอื่น ๆ หรือการลดหย่อนช่องทางอื่น ๆ เช่นกัน
ดูได้จากตารางดังนี้
เงินได้สุทธิ(บาท) | เงินได้สุทธิสูงสุด | อัตราภาษีร้อยละ | ภาษีในแต่ละขั้นเงินได้ | ภาษีสะสมสูงสุด |
0 – 150,000 | 150,000 | 5 | ยกเว้น | ยกเว้น |
150,001 – 300,000 | 150,000 | 5 | 7,500 | 7,500 |
300,001 – 500,000 | 200,000 | 10 | 20,000 | 27,500 |
500,001 – 750,000 | 250,000 | 15 | 37,500 | 65,000 |
750,001 – 1,000,000 | 250,000 | 20 | 50,000 | 115,000 |
1,000,001 – 2,000,000 | 1,000,000 | 25 | 250,000 | 365,000 |
2,000,001 – 4,000,000 | 2,000,000 | 30 | 600,000 | 965,000 |
4,000,001 ขึ้นไป | 35 |
การลดหย่อนภาษี ต้องศึกษาให้ดี เพราะการลดหย่อนภาษีจะทำให้เรามีรายจ่ายที่น้อยลง และก็มีหลากหลายโครงการที่สามารถช่วยลดหย่อนภาษีได้ เช่น
โครงการช้อปดีมีคืน เป็นการซื้อสินค้าและบริการของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT รวมไปถึงหนังสือและสินค้า OTOP ที่ลงทะเบียนกับกรงการพัฒนาชุมชน วิธีการง่าย ๆ
- ผู้ที่ไม่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- เป็นผู้ที่เสียภาษี และมีการเสียภาษีแบบขั้นบันได 5-35%
- ผู้ที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง
- สิ่งจำเป็นที่ต้องมีเป็นหลักฐาน ได้แก่ “ใบกำกับสินค้า” ตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งในเสร็จหรือใบกำกับสินค้าจะต้องระบุข้อมูลทั้งผู้ซื้อ ผู้ขายรวมไปถึงรายละเอียดสินค้าหรือการบริการให้ครบถ้วน
- จำนวนเงินลดหย่อนภาษีตามจริงสูงสุด 30,000 บาท
มีประเภทสินค้าที่ไม่สามารถลดหย่อนภาษีเช่นกัน ได้แก่ ประเภทเครื่องดื่มแอลกฮอล์ บุหรี่ น้ำมันและก๊าซ ยานพาหนะ ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคต่าง ๆ เป็นต้น
กองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ กองทุนเพื่อการออม SSF หรือกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF
กองทุนเพื่อการออม SSF เป็นการออมเงินระยะยาว
- เหมาะกับผู้ที่มีรายได้ปานกลางไปจนถึงรายได้น้อย หรือนักศึกษาที่พึ่งจบใหม่
- มีนโยบายทั้งการจ่ายเงินปันผลและไม่จ่ายเงินปันผล ทั้ง 2 อย่างแตกต่างกันอย่างไร
- รับเงินปันผล จะเป็นหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ที่จะไม่นำส่วนที่หักภาษีแล้วไปลดหย่อนภาษี ซึ่งวิธีการนี้จะเหมาะกันผู้ที่มีฐานภาษีมากกว่า 10% ขึ้นไป
- ไม่รับเงินปันผล เมื่อเราซื้อจนครบเวลาที่กำหนด กำไรจากการขายคือ SSF ก็จะได้รับการยกเว้นภาษี
- การลงทุนไม่มีกำหนดจำนวนเงินการลงทุนขั้นต่ำ และไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุก ๆ ปี
- สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินที่ต้องเสียภาษี และลดหย่อนได้ไม่เกิน 200,000 บาท แต่จะต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปี
กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF เป็นกองทุนที่ส่งเสริมให้เกิดการออมเงินในระยะยาวเพื่อวัยเกษียณ
- เหมาะกับผู้ที่ทำงานประจำ ฟรีแลนซ์ เจ้าของกิจการ
- การซื้อกองทุนประเภทนี้จะไม่มีขึ้นต่ำในการซื้อ
- สามารถสับเปลี่ยนกองทุนตามแนวโน้มของตลาดได้
- ระยะเวลาการถือ จะต้องถืออย่างน้อย 5 ปี หรือมีอายุ 55 ปีขึ้นไปถึงจะขายได้ หากเราลงทุนเกิน 5 ปีหรือไม่ครบตามกำหนด จะต้องคืนภาษีทั้งหมด
- สามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่จะต้องเสียภาษี หรือไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนอื่น ๆ
การลงทุนของทั้ง 2 กองทุนนี้จะเป็นกองทุนที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะได้ทั้งออมเงินเพื่อวัยเกษียณ การลงทุนเพื่อผลกำไร และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
ภาษีเป็นเรื่องที่วัยทำงานหรือวัยเพิ่งเรียนจบไม่ควรละเลยอย่างมาก ดังนั้นถ้าเราเข้าใจเรื่องภาษีเบื้องต้น เกณฑ์การเสียภาษี และการลดหย่อนภาษี ว่าแต่ละประเภทมีหลักการแบบไหน เพราะจะทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายใด้มากขึ้น พร้อมกับผลตอบแทนในเรื่องของการลงทุนมากขึ้นเช่นกัน