4 เรื่องควรรู้ หากเราอยากจะเกษียณเร็วกว่าคนอื่น ๆ

เกษียณ

การเกษียณเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ในชีวิตของเรา เพราะการวางแผนเพื่อวัยเกษียณที่ดีก็จะทำให้เรามีชีวิตช่วงบั่นปลายที่ดีมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นในปัจจุบันคนหนุ่มสาวมีแนวคิดเกษียณจากการทำงานกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการเร่งสร้างตัวและทำให้ตัวเองมีอิสรภาพทางการเงินเพื่อเกษียณได้อย่างรวดเร็ว และด้วยกระแสเกษียณเร็วอาจทำให้หลายคนรีบวางแผนเกษียณโดยที่ไม่ได้คำนึงอย่างรอบด้าน จึงตามด้วยปัญหาต่าง ๆ ดังนั้น เกษียณเร็วได้แต่จะต้องวางแผนให้รัดกุมอีกด้วย

แนวคิดเกษียณเร็วกว่าปกติ ซึ่งได้แก่ การมีอิสรภาพทางการเงินจนสามารถหยุดทำงานตั้งแต่อายุไม่มาก อาจจะตั้งแต่อายุ 30 – 40 ปี โดยไม่ต้องรอเกษียณตามเวลาปกติ (อายุ 55 – 60 ปี) ซึ่งปัจจุบันนี้กำลังแนวคิดที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เพราะจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ที่ในการใช้ชีวิตของเราได้มาก ๆ และมีเวลาไปทำสิ่งที่อยากทำตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาวที่กำลังในการทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย โดยไม่ทำให้เรารู้สึกเสียเวลาและไม่อยากทำงานไปจนแก่เฒ่า แล้วค่อยได้ใช้ชีวิตอิสระในวัยเกษียณ

เราจะทำอย่างไรดี ให้เราเกษียณอายุได้เร็วขึ้น และหากหมดความกังวลเรื่องเงินตั้งแต่อายุน้อย ๆ ก็สามารถมีเวลาไปใช้ชีวิตตามที่ตัวเองต้องการ แต่การเกษียณเร็วจนไปก็อาจมีผลเสียได้อีกเช่นกัน ดังนั้น วันนี้เราจะมาสำรวจความเป็นไปได้ถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ที่ต้องการจะเกษียณเร็ว และเมื่อเรารู้ถึงปัญหาก็สามารถนำไปใช้ในการวางแผนให้รัดกุมและรอบคอบยิ่งขึ้น ก่อนตัดสินใจเกษียณเร็ว 

1. ระยะเวลาที่ใช้เตรียมช่วงวัยเกษียณไม่มาก ส่งผลให้การเตรียมวัยเกษียณนั้นยากขึ้น 

1. ระยะเวลาที่ใช้เตรียมช่วงวัยเกษียณไม่มาก ส่งผลให้การเตรียมวัยเกษียณนั้นยากขึ้น 

เราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เมื่อเรายิ่งวางแผนเกษียณเร็วขึ้นแค่ไหน ก็จะยิ่งมีเวลาเก็บเงินหรือเตรียมทรัพย์สินเพื่อการเกษียณลดลงตามไปด้วย ดังนั้น เราก็จะมีปัจจัยที่จะทำให้สำเร็จได้มี 2 ทาง ได้แก่

1.1 เก็บเงินต่อปีให้มากขึ้น ซึ่งอาจกระทบกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน เช่น ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และในขณะเดียวกันเราก็ต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะอาจทำให้สูญเสียความสมดุลของชีวิต และอาจกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจอีกเช่นกัน

1.2 เพิ่มผลตอบแทน หรือผลกำไรจากการลงทุนให้มากยิ่งขึ้น หากเราเลือกแนวทางนี้ก็จะต้องยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนสูงมากขึ้น และหากมีความเสี่ยงมากจนเกินไปหรือลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่เหมาะสมกับสไตล์ของตัวเอง อาจสูญเสียเงินต้นได้

2. การเตรียมค่าใช้จ่ายหลังเกษียณที่ไม่เพียงพอ

เพราะค่าใช้จ่ายหลังวัยเกษียณนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะปัจจัยที่ทำให้การคำนวณค่าใช้จ่ายคลาดเคลื่อนมีได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น เงินเฟ้อในช่วงหลังเกษียณ รูปแบบการใช้ชีวิตหลังเกษียณมีความแตกต่างจากก่อนเกษียณ ซึ่งเราก็อาจจะไม่ได้คำนวณค่าใช้จ่ายบางประเภท หรืออาจจะเป็นในเรื่องการวางแผนการเงินด้านการรักษาสุขภาพน้อยเกินไป แต่เนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อายุขัยที่อยู่จริงยาวนานกว่าที่คาดไว้ รวมไปถึงว่าเมื่อเกษียณไปแล้วอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ และหากเจ็บป่วยและต้องใช้เงินรักษาในจำนวนที่สูงก็อาจจะส่งผลกระทบต่อสถานะการเงินโดยรวมได้อีกเช่นกัน

3. ความไม่แน่นอนและปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้

3. ความไม่แน่นอนและปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้

ในปัจจุบันนี้ โลกของการลงทุน หรือโลกของการใช้ชีวิตนั้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถานะการเงินหลังเกษียณ เช่น เรามีความมั่นใจว่าเงินเก็บที่ได้เตรียมไว้ใช้หลังเกษียณอยู่ในระดับเพียงพอแล้ว และได้มีการจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงและเหมาะสมกับตัวเองแล้ว แต่หากในอนาคตนั้นเมื่อเกิดสถานการณ์ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจ สงคราม หรือการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายต่าง ๆ ก็อาจส่งผลกระทบต่อเงินลงทุนหรือผลตอบแทนที่คาดหวังว่าจะเป็นแหล่งรายได้ในระยะยาวก็ลดน้อยถอยลงได้เช่นกัน

4. สภาพจิตใจหลังเกษียณอายุเร็ว 

เพราะก่อนหน้านี้จะเป็นช่วงวัยทำงานมาเสมอ และยังเป็นช่วงเวลาที่เราได้อยู่กับเพื่อร่วมงาน มีงานสังสรรค์ รวมไปถึงยังมีกิจกรรมทำตลอดทุกวัน แต่เมื่อตัดสินใจเกษียณจากงานประจำตั้งแต่อายุน้อย ๆ ถือเป็นการสูญเสียสถานภาพและบทบาททางสังคมอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อสภาพจิตใจ เพราะเมื่อเกษียณไปแล้วจะทำให้ชีวิตเงียบเหงา โดดเดียว เพราะเพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันนั้นยังทำงานอยู่ แต่เรานั้นกลับใช้ชีวิตในวัยเกษียณแล้ว ซึ่งจะมีผลกระทบกับผู้ที่ชื่นชอบการเข้าสังคม การมีเพื่อนร่วมงานได้พูดคุย แต่เมื่อถึงวันเกษียณเร็วจะทำให้ชีวิตขาดสีสันพอสมควร

เมื่อเราเห็นแบบนี้แล้ว การเกษียณอายุเร็ว ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดี แต่จะเป็นเรื่องที่เราตั้งเป้าหมายไว้แล้ว ซึ่งหากเรารู้ก่อนว่าหลังเกษียณไปแล้วเราจะพบเจอสภาวะอะไรบ้าง ก็จะทำให้เราเข้าใจสภาวะต่าง ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น และจากทั้ง 4 ประเด็นดังกล่าว พบว่าเมื่อวางแผนเกษียณเร็วก็มีโอกาสเผชิญปัญหาหลายอย่างเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากมีการวางแผนเกษียณเร็วได้อย่างรัดกุม สามารถจัดการกับประเด็นความเสี่ยงและปัญหาต่าง ๆ ก็จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG