เงินนั้นมีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร เพราะตั้งแต่เราเกิดมา ทุกอย่างดำเนินได้ด้วยเงิน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ และเงินนั้นก็เป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตของเรา ทั้งการซื้อสินค้าหรือบริการต่าง ๆ เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่าง ๆ
หน้าที่ของเงินเราทุกคนได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กว่าจะต้องรู้จักประหยัดอดออม เพื่อทำให้เรามีเงินสำรองในการใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อให้มีความมั่นคงทางการเงินและมีฐานะอันเป็นที่ยอมรับทั้งในวงสังคม เพราะเงินนั้นก็จะสามารถสร้างความสะดวกสบายให้กับตนเองอย่างมาก และก็ยังมีบทบาทที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างมาก
หน้าที่และความสำคัญของเงินมีอะไรบ้าง

- เงินนั้น ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of exchange) เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนทั้งสินค้าและบริการต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ
- เป็นการวัดมาตรฐาน (Standard of Value) ในการใช้วัดมูลค่าหรือสิ่งของและบริการต่าง ๆ ทั้งการเทียบค่าสิ่งของออกมาเป็นหน่วยเงินตรา เช่น ค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบัน 350 – 400 บาท ต่อวัน แอปเปิลผลละ 10 – 100 บาทต่อผล เป็นต้น ในตัวอย่างที่กล่าวมา ทำไมถึงมีค่าที่แตกต่างกัน เพราะทั้งความสามารถ หรือจะคุณภาพของสินค้าหรือบริการ ซึ่งทำให้เราสามารถเลือกซื้อตามความสามารถทางการเงินของแต่ละคนได้
- เงินนั้นเป็นมาตรฐานการชำระหนี้สินในอนาคต (Standard of Deferred Payment) เช่น การที่เรามีความสามารถในการชำระหนี้สิน หากมีการกู้ยืมเงิน จะต้องนำสิ่งของที่เป็นชนิดเดียวกันกับที่กู้ยืมไปมาคืน
- เงินนั้นเป็นเครื่องรักษามูลค่า (Store of Value) ที่ทำให้เรามีสภาพคล่องในการใช้ชีวิต และเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมที่จะเก็บเงินเป็นสมบัติไว้ และสามารถนำเงินนั้นออกมาใช้แลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการได้ทุกชนิดตามที่เราต้องการได้ แต่การที่เราเก็บเงินไว้อย่างเดียวก็มีข้อเสียเช่นกัน เพราะจะไม่ได้ทำให้เงินนั้นเติบโตได้เลย ซึ่งเราก็จะสามารถนำเงินก้อนนั้นนำเงินไปลงทุน ซื้อหุ้น เพื่อทำให้เงินของเรามีผลกำไรที่มากขึ้น
บทบาทของเงินในยุคปัจจุบัน

- เงินเป็นสิ่งสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว และเป็นเครื่องมือในการทำให้เกิดความมั่นคงของประเทศ
- เงินนั้นที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนของประชาชน ก็จะมาในรูปแบบที่เป็นกระดาษ แบงก์ เหรียญ หรือที่เรียกว่า “เงินสด” และในปัจจุบันก็มีช่องทางการใช้จ่ายเงินที่มากขึ้น ทั้งการโอนเงินผ่านแอปพลิเคชัน เงินเครดิต หรือเงินกู้ เพื่อทำให้เราได้มีเงินมาใช้ได้อย่างคล่องตัว แต่การใช้เงินอนาคตก็เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไร เพราะหากเราไม่มีวินัยในการออมเงินหรือการชำระเงินให้ตรงเวลานั้นก็อาจจะทำให้เกิดหายนะได้
เงินคือเป้าหมายสูงสุดของชีวิตแล้วหรือไม่
ถึงแม้ว่าเงินจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราแสวงหาความสุข ได้ทานอาหารดี ๆ ได้ไปเที่ยวในที่ที่อยากไป แต่เราไม่ควรนำเงินมาเป็นเป้าหมายในชีวิตของเรา แต่ควรที่จะนำเงินมาเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราไปสู่เป้าหมายในชีวิตได้ เพราะหากเราได้ทำงานหาเงิน ก็จะสามารถนำเงินนั้นมาเลี้ยงชีพได้ สร้างความสะดวกสบายต่าง ๆ ให้กับชีวิตได้
เหตุผลทั้ง 3 เหตุผลของการเงินเป็นเป้าหมายของชีวิต
1. ปลายทางไม่มีอยู่จริง
จำนวนเงินนั้นไม่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะเงินนั้นมีไว้ตอบโจทย์ชีวิต ทั้งได้ทำในสิ่งที่อยากทำ ทั้งทานอาหาร การซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการตั้งเป้าหมายทางการเงินได้อย่างแท้จริง เพราะการที่มีเงินจำนวนมากจริง ๆ แต่เราไม่ได้มีเป้าหมายว่าต้องการนำไปทำอะไรก็ทำให้ปลายทางของเป้าหมายนั้นไม่มีอยู่จริง
2. เงินที่มากเกินก็ไม่ได้มีความสุขเพิ่มขึ้น
หลาย ๆ คนมักเข้าใจว่า ยิ่งมีเงินมาก ยิ่งทำให้เรามีความสุขมากขึ้น แต่นั้นอาจจะเป็นเพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่หากเรามีเงินที่เพียงพอในการดำรงชีวิตในแต่ละวัน และตอบสนองความต้องการต่าง ๆ ของตัวเองได้แล้ว ทำให้เราไม่มีปัญหาคลาดแคลนในการเงินขาดมือ ก็ทำให้เรามีความสุขแล้ว
3. ไม่สามารถรับความเสี่ยงในการลงทุนได้
การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ซึ่งเป็นเรื่องที่นักลงทุนทุกคนจะต้องทราบแน่นอน เพราะการลงทุนเราจะไม่ควรจะนำเงินมาเป็นเป้าหมาย เพราะอาจจะเกิดการลงทุนที่ไม่ดี ก็จะทำให้เงินที่เราลงทุนไปขาดทุนไปได้ และก็จะทำให้กระทบกับสภาวะจิตใจกับนักลงทุนอย่างมาก หากเราเอาเงินไปผูกไว้กับจำนวนเงิน
สำหรับบทความนี้ใครที่ยังยึดติดกับเรื่องเงินอย่างมาก แนะนำให้อ่านและทำความเข้าใจกับการมีเงินหรือการไม่มีเงิน อยากให้ทุกคนได้ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า หากเรามีเงินจำนวนมาก ๆ แล้วเราอยากหรือมีเป้าหมายอะไรที่จะนำเงินก้อนนั้นไปใช้ และเป้าหมายที่แท้จริงในชีวิตของเรานั้นคืออะไร หากได้มีเงินแล้ว สิ่งของที่จำเป็นในชีวิตของเราจะต้องใช้เงินเท่าไร จริง ๆ แล้วจำนวนเงินที่มากหรือน้อยก็อาจจะไม่ใช่ความสุขที่แท้จริงก็ได้ ดังนั้นเราจำเป็นต้องรู้ว่าเงินนั้นสำคัญอย่างไร