ต้องทำยังไงดี เมื่อติดเครดิตบูโร และโดนปฏิเสธสินเชื่อ

ความรู้เบื้องต้นการเงิน

เมื่อติดเครดิตบูโร และโดนปฏิเสธการขอสินเชื่อ เราจะต้องทำยังไงดี เพื่อทำให้ประวัติเครดิตบูโรของเรานั้นกลับมาดีเหมือนเดิม แล้วจะต้องใช้เวลานานแค่ไหนกว่าประวัติเครดิตจะกลับมาดีเช่นเดิม ดังนั้นทางที่ดีที่สุดเราก็ควรที่จะทำให้ไม่เกิดปัญหาตั้งแต่ต้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดขึ้นไปแล้วก็มีทางแก้ไขเสมอ ดังนั้นเรามาดูวิธีว่าจะต้องทำอย่างไรดีเมื่อติดเครดิตบูโรและโดนปฏิเสธสินเชื่อ

ก่อนอื่นเลยเรามาดูว่าเครดิตบูโรคืออะไร

เครดิตบูโร หรือ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูล “บัญชีสินเชื่อและประวัติการชำระสินเชื่อทุกประเภท” ของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งส่งมาจากสถาบันทางการเงิน 

ซึ่งข้อมูลจะรายงานเฉพาะหนี้ที่ได้กู้ยืมมาจากสถาบันทางการเงิน สินเชื่อต่าง ๆ ได้แก่ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น ซึ่งสินเชื่อเหล่านี้จะต้องได้รับการอนุมัติและมีประวัติการชำระหนี้เท่านั้น แต่ประเภทค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่น ๆ ได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น จะไม่อยู่ในประวัติของเครดิตบูโร

แบล็กลิส บูโร คืออะไร

แบล็กลิส บูโร คืออะไร

เมื่อเวลาชำระหนี้ในแต่ละรายการ ข้อมูลก็ถูกบันทึกไว้ หากค้างชำระไม่เกิน 30 วันแล้วจ่ายได้ทันเวลา ก็ถือว่ารายการชำระนั้นยังเป็น สถานะปกติ และตัวเลขกำกับสถานะจะแสดงเป็น 0 

แต่หากค้างชำระเกิน 30 วัน จะมีการบันทึกรายการเป็นระดับตั้งแต่ 1 และไล่ไปจนถึงการค้างชำระ 271 ถึง 300 วัน ก็จะบันทึกรายการเป็นระดับ 9 และหากค้างชำระเกินกว่า 300 วัน รายการดังกล่าวจะถูกระบุเป็น F ซึ่งสถานะนี้ ทางสถาบันทางการเงินต่าง ๆ ก็จะนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการขอสินเชื่อ

แต่ความจริงแล้วลักษณะการจัดเก็บข้อมูลของเครดิตบูโร ไม่ได้จัดเก็บเป็นบัญชีดำ ซึ่งทางเครดิตบูโร ยืนยันว่า ทางบริษัทไม่ได้มีการจัดทำและขึ้นบัญชีแบล็กลิสต์กับใครไว้ในฐานข้อมูล แต่จะเก็บข้อมูลตามความเป็นจริงว่า “ปกติ” หรือ “ไม่ค้างชำระ” แต่ถ้ายังไม่จ่าย ก็จะระบุว่า “ค้างชำระ” 

ซึ่งข้อมูลของทางเครดิตบูโรนั้นจะระบุตามความจริง เพียงแต่ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ตามระยะเวลา 3 ปีแบบที่กฎหมายกำหนดไว้

เครดิตบูโร ติดกี่ปี

เครดิตบูโรจะรายงานตามผลจริงที่เกิดขึ้น และเราจะไม่สามารถแก้ไขประวัติของเราได้ ซึ่งข้อมูลการค้างชำระเดิมจะไม่ได้ถูกลบออกไป จนกว่าข้อมูลที่จัดเก็บไว้ถูกลบออกไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด 3 ปี

คำแนะนำเมื่อ ติดเครดิตบูโร

  1. เมื่อสถาบันการเงินปฏิเสธการขอสินเชื่อ และทางสถาบันทางการเงินได้มีการอ้างว่าเป็นเพราะเครดิตบูโรแล้ว จะต้องออกเป็นหนังสือชี้แจงเท่านั้น ห้ามให้แจ้งโดยการพูดปากเปล่า การส่ง SMS การส่งไลน์ หรือวิธีการอื่นใดอย่างเด็ดขาด
  2. เมื่อได้รับหนังสือชี้แจงการปฏิเสธจากสถาบันทางการเงินแล้ว ให้นำหนังสือปฏิเสธสินเชื่อและบัตรประชาชนตัวจริง มาตรวจเครดิตบูโร ได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร
  3. พยายามสอบถามข้อมูล เหตุผล และรับฟังสาเหตุว่าทำไมถึงติดเครดิตบูโร ว่าสิ่งเหล่านั้นกับสิ่งที่ปรากฏในรายงานเครดิตบูโรนั้น สอดคล้องหรือเป็นจริงตามที่ในหนังสือระบุหรือไม่
  4. เมื่อได้รับทราบและเข้าใจในข้อ 1-3 แล้ว เรามีสิทธิตามกฎหมายที่จะขอตรวจสอบแก้ไขข้อมูล ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น ในรายงานระบุการค้างชำระ แต่เรามีหลักฐานว่าชำระแล้ว 
  5. เมื่อข้อมูลที่ปรากฏไม่ถูกต้องกับความเป็นจริงแล้ว เราทุกคนก็สามารถแก้ไขได้ตามที่กฎหมายกําหนด แต่เครดิตบูโรไม่มีอำนาจหรือสิทธิ์ในทางกฎหมายใดๆ ที่จะแก้ไขข้อมูลให้ถูกใจกับเจ้าหนี้ หรือลูกหนี้ ให้ต่างไปจากความเป็นจริงได้ เพราะถ้าไปทำแล้วจะมีโทษในทางกฎหมาย

ตรวจเครดิตบูโร ใช้อะไรบ้าง ?

ตรวจเครดิตบูโร ใช้อะไรบ้าง ?

ผู้ขอสินเชื่อสามารถยื่นคำขอตรวจเครดิตบูโร ในกรณีถูกปฏิเสธสินเชื่อได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ภายใน 30 วันนับจากวันที่ในหนังสือแจ้งปฏิเสธสินเชื่อ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมยื่นเอกสารประกอบ ดังนี้

  • บุคคลธรรมดา
    • บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมกรอกแบบคำขอตรวจเครดิตบูโร
    • หนังสือแจ้งปฏิเสธการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ที่ระบุว่าไม่อนุมัติสินเชื่อเพราะข้อมูลจากเครดิตบูโร
    • เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
  • นิติบุคคล 
    • ยื่นสำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม่เกิน 3 เดือน พร้อมลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 
    • บัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมสำเนารับรองความถูกต้อง และกรอกแบบคำขอตรวจเครดิตบูโร​
    • สำเนารายงานข้อมูลเครดิตฉบับที่ต้องการแก้ไข (ถ้ามี)
    • เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

ตรวจเครดิตบูโรได้ที่ไหนบ้าง

  1. ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 
  2. เครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3
  3. Bureau Lab (บูโรแล็บ) สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต (ภายในสถานี)
  4. ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม
  5. ธนาคารที่เป็นตัวแทนรับคำขอตรวจเครดิตบูโร (เฉพาะกรณีบุคคลธรรมดาเท่านั้น) รับรายงานทางไปรษณีย์ภายใน 7 วัน
  6. โมบายแอป “ทางรัฐ”

ดังนั้นการติดเครดิตบูโรนั้นไม่ใช่เรื่องไม่ดีอะไร เราสามารถแก้ไขได้ และสามารถทำให้ประวัติเครดิตบูโรของเรานั้นกลับมาดีเช่นเดิมได้ หรือถ้าข้อมูลในประวัติเครดิตบูโรนั้นไม่เป็นความจริงนั้นก็สามารถแจ้งแก้ไขได้อีกเช่นกัน ตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมกับแจ้งหลักฐานของตนเองให้ชัดเจน ดังนั้นทั้งหมดนี้ก็ไม่ใช่เรื่องแย่อะไร

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG