แม้ว่าเราจะไม่ได้ยื่นภาษี ก็ไม่ได้หมายความว่าสรรพากรจะไม่รู้ว่าเรามีรายได้เท่าไร เพราะทางสรรพากรเองก็มีวิธีเพื่อติดตามรายได้ของเราเช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าจะใคร ทั้งพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หรือมีหน้าร้านเองนั้น ก็จะต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง หากถ้าไม่ทำตามระบบให้ถูกต้องนั้นก็อาจจะต้องถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ ซึ่งหากโดนเก็บภาษีย้อนหลังแล้วนั้นก็จะต้องเสียเงินค่าปรับเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่จะต้องจ่าย ซึ่งสามารถย้อนหลังได้ถึง 10 ปีเลย
สรรพากรรู้รายได้เราได้ยังไง ? ช่องทางไหนที่สรรพากรใช้ตรวจสอบการเงินของเรา
1. มีเงินโอนเข้าบัญชีหลายครั้ง และเป็นเงินจำนวนมาก
หากเรามีเงินเข้าบัญชี ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการฝากหรือโอนเงินเข้าบัญชี ผ่านช่องทางสมาร์ทโฟน บัตรเครดิตต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลให้สรรพากร ซึ่งจะนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม
- มีเงินเข้าบัญชี 3,000 ครั้งต่อปี โดยไม่ดูจำนวนเงินว่าแต่ละครั้งจะมีมูลค่าเท่าไหร่
- มีเงินเข้าบัญชี 400 ครั้งต่อปี และ จำนวนเงิน (นับเฉพาะฝั่งเงินรับฝากเข้า) รวมเกิน 2 ล้านบาท
2. ข้อมูลการรับเงิน (เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ใบกำกับภาษี)
ในกรณีที่เรามีรายได้ โดยได้รับเป็นเงินสดไม่ผ่านธนาคาร แต่ผู้จ้างเป็นนิติบุคคลได้ทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ผู้ประกอบการจะต้องนำส่งเงินภาษีที่หักให้แก่กรมสรรพากร รวมถึงแจ้งข้อมูลผู้ได้รับเงิน ทั้งชื่อ เลขบัตรประชาชนไปในแบบนำส่งภาษีที่หักไว้ดังกล่าวด้วย
และหากบริษัทผู้จ่ายเงินถูกสรรพากรตรวจสอบเอกสาร ผู้ประกอบการจะต้องมีการนำส่งรายการบันทึกค่าใช้จ่ายของบริษัทให้กับกรมสรรพากร ซึ่งในบันทึกนั้นจะต้องมีการระบุค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไว้โดยละเอียด ส่งพร้อมเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะเป็นการได้รับเงินสด ทางกรมสรรพากรก็ยังมีโอกาสที่จะรู้ข้อมูลรายได้จากส่วนนี้
3. รับรู้รายได้ผ่านช่องทาง www.rd.go.th
เว็บไซต์เป็นช่องทางการสืบค้าข้อมูลรายได้ โดยการเปิดเมนูการแจ้งเบาะแส หรือข้อมูลแหล่งภาษี เพื่อให้ประชาชนช่วยกันตรวยสอบกิจการหรือธุรกิจที่เสียภาษีไม่ถูกต้อง
4. Web Scraping เทคโนโลยีดึงข้อมูลจากเว็บไซต์
สรรพากรในปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีดึงข้อมูลจากเว็บเพจต่าง ๆ หรือ Web Scraping เพื่อเข้ามาช่วยตรวจสอบกลุ่มผู้ค้าออนไลน์ ทั้งในรูปแบบที่ค้าขายปกติ และรูปแบบไลฟ์สดเพื่อขายสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น สรรพากรจะดึงข้อมูล ราคา และจำนวนสินค้าที่ขายได้ตามเว็บ e-commerce ทั้งหลาย เช่น Shopee, Lazada หรือจะรู้ข้อมูลของผู้จ่ายเงินให้เรา เช่น เราขายของผ่านเว็บไซต์ เช่น Shopee, Lazada ก็จะมีการหักค่าบริการในอัตราที่กำหนดจากยอดขายของเรา ตามที่ทางเว็บไซต์นั้นได้กำหนด
5. ใช้ระบบ Big Data & Data Analytics
สรรพากรเริ่มใช้ระบบ Big Data & Data Analytics เพื่อเป็นการจัดระบบและคัดกรองว่าผู้ประกอบการประเภทไหนบ้างจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหลีกเลี่ยงภาษี และกลุ่มใดจัดอยู่ในกลุ่มดี
ยกตัวอย่างกรณีดังที่มีผู้ค้าออนไลน์โพสต์ผ่านเฟชบุ๊กของตนเอง ถึงเรื่องราวการถูกกรมสรรพากรส่งจดหมายแจ้งยื่นภาษีย้อนหลังปี 2563 ยอดรวมกว่า 90,000 บาท นั่นก็มาจากระบบนี้นั่นเอง
หรือการใช้ระบบ Data Analytic เช่น สรรพากรเชื่อมข้อมูลกับการไฟฟ้า การประปา ซึ่งหากพบว่าการใช้ไฟฟ้ากับการใช้น้ำประปาของเราใกล้เคียงกับคนที่ทำธุรกิจแบบเดียวกับเรา แต่เขาแจ้งรายได้สูงกว่า สรรพากรก็อาจสงสัยว่าเราแจ้งรายได้ไม่ครบถ้วนได้
6. เข้าร่วมโครงการของรัฐ
ในปัจจุบันนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้ที่ประกอบอาชีพค้าขายและบริการ หากเข้าร่วมโครงการของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น โครงการคนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน เราชนะ ชิมช้อปใช้ เป็นต้น ซึ่งรายได้เหล่านี้จะถูกส่งให้กับกรมสรรพากร และสิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นเรื่องง่ายมากสำหรับการตรวจสอบรายได้ของสรรพากร
7. สุ่มตรวจจากทางสรรพากร
ทางสรรพากรจะมีการสุ่มจากหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั้งในแพลต์ฟอร์มต่าง ๆ เช่น Facebook, IG ที่มีการโชว์ยอดเงินโอนเข้า หรือรายได้จากการขายสินค้าจำนวนมาก หรืออาจจะเป็นการไลฟ์สดขายของจากสรรพากรจะสุ่มตรวจกลุ่มคนเหล่านี้ ว่ามีรายได้มากน้อยแค่ไหน มีการยื่นภาษีอย่างถูกต้องหรือไม่ แต่หากไม่ได้มีการยื่นแบบภาษีก็อาจจะถูกสรรพากรเรียกได้
8. พนักงานประจำ มีรายได้เท่าไรสรรพากรรู้หรือไม่
หากกรณีที่เป็นพนักงานประจำที่ทางบริษัทมีการจ่ายเงินเดือนผ่านธนาคาร ซึ่งผู้มีรายได้จะต้องเป็นคนนำข้อมูลจากใบ 50 ทวิ (หนังสือรับรองเงินได้หัก ณ ที่จ่าย) ซึ่งเป็นใบแจ้งรายได้ทั้งปีที่ทางบริษัทออกให้ไปยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว ทางบริษัทก็จะมีเอกสารชี้แจงเงินได้ของเราส่งทางกรมสรรพากรด้วยอีกทางหนึ่ง (ภงด.1, ภงด.1ก) จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สรรพากรสามารถตรวจสอบรายได้ของเราได้ ดังนั้นทำให้ผู้ที่มีรายได้ประจำ หรือพนักงานประจำก็จะต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง
ดังนั้นเมื่อเราเข้าใจแล้วว่า ทางสรรพากรจะรู้ได้อย่างไรว่าแต่ละคนมีรายได้มากน้อยเท่าไร และตรวจสอบการยื่นภาษีของแต่ละคนอย่างไร ดังนั้นหากรู้แบบนี้แล้ว ไม่ว่าจะมีรายได้มากหรือรายได้น้อย ก็จะต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง เพื่อเราจะได้ไม่ถูกทางสรรพากรเรียก หรือเราอาจจะถูกปรับเงิน แทนที่เราจะประหยัดเงิน กลับกลายเป็นจะต้องเสียค่าปรับที่มากกว่าเดิมอีก
credit : เว็บสล็อตแท้