6 วิธีการวางแผนการเงิน เพื่ออนาคต

ความรู้เบื้องต้นการเงิน

การเลือกวางแผนการเงินเพื่ออนาคต เป็นสิ่งที่คนวัยทำงานเริ่มที่จะคำนึงและเริ่มวางแผนทางการเงิน เพราะการเกิดปัญหาหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันมักจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ แต่หากมีวางแผนทางการเงินที่ดีก็จะทำให้คุณมีความมั่นคงมากขึ้น ดังนั้นเรามาดูวิธีการวางแผนทางการเงินทั้ง 6 วิธี

1. เริ่มทำบัญชีรายรับรายจ่าย

เคยรู้สึกไหมว่า เงินเดือนก็มาก แต่เงินเก็บไม่ค่อยจะเหลือ เพราะการใช้จ่ายโดยที่ไม่ได้มีการวางแผนนั้นทำให้การเงินของตัวคุณนั้นมีปัญหา เช่น การตามใจตัวเอง ให้รางวัลตัวเองบ่อยเกินไป เช่น การทานข้าวนอกบ้าน ดูหนัง ท่องเที่ยว ซื้อของในทุกอย่างที่ต้องการ สิ่งเหล่านี้แน่นอนว่าทำให้ตัวคุณนั้นมีความสุข แต่ก็จะมากับปัญหาการเงินในยามฉุกเฉิน และอนาคตแน่นอน

ดังนั้นการทำบัญชีรายรับรายจ่าย จะทำให้เห็นว่ามีค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ไม่จำเป็น หรือสามารถตัดทิ้งไปได้บ้าง  เราควรจะเริ่มต้นวางแผนว่าในแต่ละเดือน สิ่งที่จำเป็นต้องจ่ายอะไรบ้าง เช่น ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าใช้จ่ายครัวเรือน ค่าเดินทาง ค่าอาหาร เป็นต้น เมื่อแจกแจงออกมาได้แล้วก็จะทำให้เห็นแล้วว่าสิ่งไหนควรลดค่าใช้จ่ายลง เพราะรายรับจะต้องมากกว่ารายจ่าย จะทำให้เราวางแผนทางการเงินในอนาคตได้ง่ายมากขึ้น

2. วางแผนการออมเงิน

2. วางแผนการออมเงิน

การวางแผนออมเงิน หรือมีเป้าหมายในการออมเงินนั้น ๆ ก็จะทำให้เราควบคุมการใช้จ่ายเงินของเราให้ได้ตามที่ตั้งใจไว้ เช่น การเก็บเงินซื้อบ้าน ซื้อรถ เพื่อลูก หรือจะการไปเที่ยวต่างประเทศ เป็นต้น 

การออมเงินวิธีการง่าย ๆ ก็คือการแบ่งเงินจากรายได้ 10% ขึ้นไปตามความเหมาะสม ออกมาออมไว้ในทุก ๆ เดือน ถ้าใครกลัวว่าจะนำเงินเก็บออกมาใช้ ลองศึกษาการฝากประจำของแต่ละธนาคารได้ มีการฝากประจำตั้งแต่ 3-36 เดือน เริ่มต้นที่ 500 บาทต่อเดือน เป็นวิธีการที่ดีมาก ๆ และทำให้เราเห็นเงินเก็บของเราเติบโตขึ้นทุก ๆ เดือนอีกด้วย

ทั้งนี้ต้องลองปรับการออมเงินให้เข้าการเงินของตนเอง

3. เก็บเงินสำรองฉุกเฉิน

3. เก็บเงินสำรองฉุกเฉิน

เหตุฉุกเฉินเกิดได้ทุกเมื่อ ดังนั้นไม่มีใครอยากจะให้เกิดแน่นอน ดังนั้นเราก็ควรจะมีเงินสำรองสำหรับเหตุฉุกเฉินไว้ในอนาคตด้วย ไม่ว่าจะเรื่องสุขภาพ อุบัติเหตุภายในบ้าน หรือนอกบ้าน ธุรกิจหมุนเงินไม่ทัน บริษัทเลิกจ้างพนักงาน เป็นต้น เราจำเป็นมาก ๆ ที่ควรมีเงินสำรองค่าใช้จ่ายทั้งหมดอย่างน้อย 3-6 เดือนไว้ เพื่อหากเกิดเหตุไม่คาดฝันแล้ว จะสามารถหยิบเงินก้อนนั้นออกมาสำรองใช้ก่อนได้เลย

ตัวอย่าง ค่าใช้จ่ายต่อเดือน เดือนละ 20,000 บาท ดังนั้นจะต้องมีเงินสำรองอย่างน้อย 60,000-120,000 บาท 

4. วางแผนค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพ

4. วางแผนค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพ

สุขภาพที่ดี ไม่เจ็บไม่ป่วยเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากได้และอยากมี แม้จะสุขภาพดี สุขภาพแข็งแรง ได้ทานอาหารครบ 5 หมู่ พักผ่อนเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่อาการเจ็บป่วยมักจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ และมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายการรักษาที่สูงมาก ดังนั้นการวางแผนค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในการจ่ายสุขภาพจึงควรเป็นการซื้อประกันสุขภาพ อุบัติเหตุ ประกันโรคร้าย หรือการออมเงินทุก ๆ เดือนเพื่อสุขภาพอนาคต  

ประกันสุขภาพ อุบัติเหตุ และประกันโรคร้าย ผู้ซื้อควรจะศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดการคุ้มครอง เงื่อนไข รวมไปถึงผลประโยชน์และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจซื้อประกันทุกครั้ง

5. วางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณ

การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ ควรจะต้องเริ่มวางแผนตั้งแต่เมื่อไรถึงจะดี เพื่อจะทำให้ชีวิตช่วงปลายได้อย่างมีความสุขและมีความมั่นคงมากขึ้น ซึ่งการวางแผนเพื่อช่วงวัยเกษียณ จะต้องดูว่าความต้องการของแต่ละคนเป็นอย่างไร เช่น ต้องการใช้ชีวิตอย่างไม่ลำบาก และเพื่อให้ตอบโจทย์มากที่สุด แต่สิ่งที่เราต้องคำนึงคือ เราจะเกษียณในอายุเท่าไร ตอนนี้ตัวเราเองอายุเท่าไร และอยากมีเงินใช้ในวัยเกษียณต่อเดือนเท่าไร 

วิธีการวางแผน

  1. กำหนดอายุเกษียณของตนเอง จะทำให้เราวางแผนได้ว่าควรจะต้องสำรองเงินไว้เท่าไร
  2. เริ่มวางแผนการออมเงินให้เร็ว ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไร ก็จะทำให้เรามีเงินสำรองมากขึ้น และช่วยลดปัญหาการเงินในช่วงเกษียณ
  3. ตั้งเป้าจำนวนเงิน ซึ่งการตั้งเป้าหมายว่าต้องการใช้เงินเท่าไรต่อเดือนในช่วงหลังวัยเกษียณ เช่น ค่าใช้จ่ายประจำวัน ค่าเดินทาง ค่าดูแลสุขภาพ ค่าใช้จ่ายท่องเที่ยว เป็นต้น
  4. เลือกลงทุนสินทรัพย์ ควรจะมีการลงทุนที่กระจายความเสี่ยง ซึ่งจะต้องคำนึงว่าตนเองสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยเท่าไร การลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นจะต้องศึกษาข้อมูลและเงื่อนไขอย่างละเอียดก่อนลงทุน
  5. ติดตามแผนออมเงินของเราเสมอ เพื่อปรับให้เข้ากับสถานการณ์ทางการเงินและปรับให้เข้ากับตัวเรามากที่สุด และทำให้มั่นใจได้ว่าตัวเราจะบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้
  1. ลงทุนเพื่อสร้างกำไร

การลงทุนเพื่อให้เงินนั้นมีกำไรได้ในระยะยาว ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะการลงทุนนั้นมีโอกาสได้รับกำไรมากกว่าดอกเบี้ยธนาคาร หรือการเก็บเงินไว้เฉย ๆ

การลงทุนก็มีให้เลือกหลากหลาย เช่น การลงทุนหุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้ ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งการลงทุนดังกล่าว สามารถเลือกการลงทุนได้ทั้งระยะสั้น ระยะยาวได้ตามความต้องการอีกด้วย

ดูครบแล้วทั้ง 6 วิธีแล้ว ใครสนใจในการวางแผนทางการเงินแล้ว ก็ควรจะเริ่มได้เลย เพราะการเริ่มวางแผนทางการเงินเร็วเท่าไร ความมั่นคงของตัวเราในอนาคตก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น หากไม่รู้จะเริ่มออมเงินหรือเริ่มลงทุนอย่างไร สามารถปรึกษาธนาคารที่ตนเองเปิดบัญชีได้เลย

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG