มนุษย์เงินเดือนแบบเรา จะต้องไม่พลาดใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

มนุษย์เงินเดือน

การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของผู้ที่มีรายได้ ยิ่งใครที่มีรายได้มาก ก็จะต้องเสียภาษีมากตามไปด้วย ดังนั้นเราจะต้องมาคำนวณดูว่ามีรายได้และรายจ่ายมากน้อยเท่าไร ดังนั้นจึงทำให้มีกฎหมายที่ให้สิทธิประโยชน์กับผู้ที่มีเงินได้สำหรับทุกคนในการลดหย่อยภาษี ซึ่งการวางแผนใช้สิทธิลดหย่อนภาษีพร้อม ๆ ไปกับการสร้างความมั่นคง ทางการเงินที่เป็นสิ่งที่ทำควบคู่กันได้ ซึ่งการทำให้รายจ่ายน้อยที่สุดก็เป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ เช่นกัน

ในบทความนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการวางแผนภาษีฉบับมนุษย์เงินเดือนเลย

1. ประเมินเงินได้ตลอดทั้งปี เพื่อคำนวณภาษี

การคำนวณเงินได้ตั้งแต่ต้นปีด้วยการนำเงินเดือนของช่วงปีที่ผ่านมาและโบนัสที่ได้รับมาทั้งหมดมาคำนวณว่า ตลอดทั้งปีเรามีรายได้เท่าไร จากนั้นเราก็จะสามารถคาดการณ์รายได้ที่น่าจะเพิ่มขึ้นในปีนี้ เพื่อประเมินเงินได้และคำนวณว่าจะต้องเสียภาษีในอัตราเท่าไร

ตัวอย่างเช่น การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

มีรายได้ต่อเดือน 50,000 บาท ได้รับโบนัส 300,000 บาท

รายการจำนวนเงิน
เงินได้ตลอดทั้งปี600,000
โบนัส300,000
หักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 40(1)100,000
หักค่าลดหย่อนส่วนตัว60,000
เงินได้สุทธิ74,000

2. เริ่มศึกษาลดหย่อนภาษีอื่น ๆ เพื่อลดรายจ่าย

2. เริ่มศึกษาลดหย่อนภาษีอื่น ๆ เพื่อลดรายจ่าย

ค่าลดหย่อนภาษีเป็นสิทธิประโยนช์ที่ทำให้เรานั้นเสียภาษีน้อยลง และเมื่อทำตามหลักเกณฑ์ที่ทางรัฐบาลนั้นได้กำหนดไว้ ที่ทางรัฐบาลนั้นจะช่วยแบ่งเบาภาระให้กับประชาชน ตัวอย่างเช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนเพื่อการออม เงินบริจาค คู่สมรส เงินเลี้ยงดูบุตร เบี้ยประกัน เป็นต้น

นอกจากสิทธิลดหย่อนภาษีแล้วนั้น ในแต่ละปียังอาจมีสิทธิลดหย่อนอื่นๆ เพิ่มเติมขึ้นมา เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการออมการลงทุน หรือเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศในช่วงนั้นๆ เช่น โครงการ “ชอปดีมีคืน” ที่เราสามารถนำเงินค่าซื้อสินค้าและบริการระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. ของแต่ละปี ที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ถึง 30,000 บาท ฉะนั้น เราทุกคนจะต้องติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เราไม่พลาดโอกาสที่จะใช้สิทธินั้นอย่างเต็มที่

เราจะแบ่งค่าลดหย่อนเป็น 3 หมวดง่าย ๆ  

  1. หมวดลดหย่อนสำหรับตัวเอง เป็นค่าลดหย่อนที่เกิดขึ้นจากตัวเราเอง หรือจากความสัมพันธ์ในครอบครัว
  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ต่อปี
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาทต่อปี สำหรับคนที่มีคู่สมรส
  • ค่าลดหย่อนบุตร 30,000 บาทสำหรับคนแรก แต่เมื่อได้คนต่อไปคนละ 60,000 บาทต่อปี
  • ค่าลดหย่อนบิดามารดา ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาทต่อปี
  • ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ 60,000 บาทต่อปี
  • ค่าฝากครรภ์และค่าทำคลอด ค่าใช้จ่ายไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
  1. หมวดประกัน ผู้ที่ซื้อประกันจะได้รับสิทธิลดหย่อนเพื่อแบ่งเบาบริหารความเสี่ยงด้วยตัวเอง
  • ประกันชีวิตทั่วไปหรือประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ จะสามารถลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทตามที่ชำระจริง 
  • ประกันสุขภาพบิดามารดา ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
  • ประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และจะต้องไม่เกินจาก 15% ของรายได้
  1. หมวดการเกษียณอายุ เป็นการที่รัฐบาลสนับสนุนให้เราเลือกที่จะนำเงินไปลงทุน เพื่อเป็นหลักประกันในอนาคตที่จะทำให้เรามีเงินใช้ในยามเกษียณ ซึ่งการลงทุนเพื่อการเกษียณจะต้องรวมกับประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วจะไม่เกิน 500,000 บาท 
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้ และจะต้องไม่เกิน 500,000 บาทเมื่อรวมกับหมวดลงทุนเพื่อการเกษียณ
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ และจะต้องไม่เกิน 500,000 บาทเมื่อรวมกับหมวดลงทุนเพื่อการเกษียณ
  • กองทุนรวมเพื่อการออม SSF ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ และจะต้องไม่เกิน 500,000 บาทเมื่อรวมกับหมวดลงทุนเพื่อการเกษียณ
  • กองทุนการออมแห่งชาติ กอช. ไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี แต่จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับหมวดหมู่ลงทุนเพื่อการเกษียณ
  • กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ SSFX ซื้อได้ไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งจะต้องไม่รวมกับการออมเงินเพื่อเกษียณ
  • เงินประกันสังคม ลดหย่อนได้ 5,850 บาท

3. วางแผนการออมเงินและลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี

3. วางแผนการออมเงินและลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี

ทั้งสิทธิขั้นพื้นฐานที่เราได้อยู่แล้ว และใช้สิทธิลดหย่อนเพิ่มเติมจากการออมและลงทุนในกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และประกันชีวิต โดยคำนวณว่าจะใช้สิทธิเป็นจำนวนเงินอย่างละเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับฐานะการเงินของเรา ซึ่งเราก็ไม่ควรออมและลงทุนมากเกินไปจนลืมสำรองเงินสดไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน หลังจากวางแผนเรียบร้อยแล้ว ก็ควรสร้างวินัยทางการเงินด้วยการ “ทยอยลงทุนอย่างต่อเนื่อง” เพื่ออนาคตที่มั่นคง

การวางแผนใช้สิทธิลดหย่อนภาษีพร้อม ๆ ไปกับการสร้างความมั่งคั่งทางการเงินนั้นก็เป็นสิ่งที่ทำควบคู่กันได้ ซึ่งมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา จะต้องไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง เพียงแค่ต้องศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน ติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง และอย่าลืมอัพเดทสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งการวางแผนทางการเงินตั้งแต่เริ่มต้นง่าย ๆ แบบนี้ ก็ช่วยให้เราได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ลดรายจ่าย รักษาสิทธิประโยชน์ของตนเอง และพร้อมกับจะต่อยอดความมั่งคั่งได้อย่างสูงสุดแล้ว

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG