5 เทคนิคการจัดการหนี้สิน

ความรู้เบื้องต้นการเงิน

เทคนิคการจัดการหนี้สินเป็นสิ่งที่เราควรจะตระหนักรู้และควรจะจัดการอย่างมีวินัยมาก ๆ ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะไม่อยากมีหนี้สินไปตลอดใช่ไหม แต่บทความนี้จะมาแชร์เทคนิคการจัดการหนี้สิน เพื่อให้เราสามารถจัดหนี้สินได้ดีและรวดเร็วมากขึ้น เพื่อให้เรามีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น และทำให้เรามีเงินเก็บเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีทั้ง 5 เทคนิคในการจัดการหนี้สิน

1. การแบ่งหนี้รวยกับหนี้จนให้ได้

1. การแบ่งหนี้รวยกับหนี้จนให้ได้

การเป็นหนี้สิน ไม่ใช่เป็นสิ่งที่แย่หรือควรจะหลีกเลี่ยงเสมอไป เนื่องจากบางครั้งการสร้างหนี้ก็สามารถช่วยสร้างรายได้และเพื่อสร้างความมั่นคง 

คำว่า หนี้รวยและหนี้จนคืออะไร

หนี้รวย ได้แก่ หนี้ที่เกิดจากการนำไปซื้อทรัพย์สินที่ทำให้เกิดกระแสเงินสดเข้ามามากกว่ารายจ่ายที่ต้องผ่อนชำระ เช่น การกู้เงินมาซื้อคอนโดมิเนียม หรือบ้าน ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ก็จะสามารถปล่อยเช่าได้ และรายได้ในการปล่อยเช่าจะมากกว่าราคาผ่อนชำระในแต่ละเดือน เป็นต้น

หนี้จน ได้แก่ การสร้างหนี้ที่ก่อให้เกิดรายจ่าย เมื่อมีรายได้ก็จะต้องนำเงินไปชำระหนี้ ดังนั้นจะเป็นเงินรายจ่ายอย่างเดียว ไม่มีกระแสเงินสดเข้ามา

ดังนั้นการแบ่งแยกหนี้สินทั้ง 2 แบบแล้ว จะทำให้ทุกคนเข้าใจสถานะการเงินของตนเองมากขึ้น และจะช่วยจัดลำดับความสำคัญของรายได้ เพื่อให้เข้าใจและสามารถจัดการหนี้สินได้ทัน

2. การทำงบแสดงการเงินส่วนบุคคลและกระแสเงินสด

2. การทำงบแสดงการเงินส่วนบุคคลและกระแสเงินสด
  1. การทำงบฐานะการเงินส่วนบุคคล เป็นการรวบรวมรายการทรัพย์สิน ทั้งทรัพย์สินสภาพคล่อง เพื่อการลงทุนและทรัพย์สินส่วนตัว และนำมาหักลบกับหนี้สินทั้งหมด ก็จะทำให้เราทราบว่าเรามีความมั่นคงหรือสถานะทางการเงินที่แท้จริงของแต่ละบุคคล

ข้อดีของการทำงบฐานะการเงินส่วนบุคคล สามารถทำให้เราเห็นว่าสินทรัพย์ที่เรามีนั้นมีอะไรบ้าง มีหนี้สินอะไรบ้าง และมีรายจ่ายประจำมากน้อยเท่าไรในแต่ละเดือน 

รูปแบบของงบฐานะเงินสดส่วนบุคคล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  • งบสถานะทางการเงินสดส่วนบุคคล เป็นการทำให้เราทราบว่า เรามีรายการสินทรัพย์ หนี้สินอยู่เท่าไร ซึ่งจะสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท
    • สินทรัพย์สภาพคล่อง ได้แก่ เงินสด เงินฝากธนาคาร
    • สินทรัพย์ในการออมและการลงทุน
    • สินทรัพย์เพื่อใช้ส่วนตัว ได้แก่ รถ บ้าน เป็นต้น
  • งบกระแสเงินสด เป็นงบที่ทำให้เราเห็นกระแสเงินสดและรายจ่ายของตนเอง ซึ่งจะต้องระวังให้ห้ามติดลบ 
  1. การทำงบกระแสเงินสด เป็นการเปรียบเทียบรายรับรายจ่าย ที่เกิดจากการทำธุรกิจหรือการทำงานที่ก่อให้เกิดรายได้

ข้อดีของการทำงบกระแสเงินสด ทำให้ที่สามารถประเมินสภาพคล่องทางการเงินล่วงหน้าได้ ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่ามีสภาพคล่องทางการเงินในการชำระหนี้มากน้อยเท่าใด และทำให้ทราบถึงการเคลื่อนไหวเงินสด และความสามารถในการทำกำไร

รูปแบบของงบกระแสเงินสด แบ่งออกเป็น 2 แบบ

  • ทางตรง (Direct Method) เป็นกระแสเงินสดที่เกิดจากการดำเนินงานในธุรกิจ เช่น เงินสดที่เกิดจาดการจำหน่ายสินค้า ดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ เป็นต้น
  • ทางอ้อม (Indirect Method) ซึ่งวิธีนี้จะเกิดจากการนำกำไรและการขาดทุนมาปรับปรุง ที่ไม่กระทบต่อเงินสด  ซึ่งจะเป็นกำไรขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์หรือผลกระทบจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ค่าเสื่อมราคา กำไรระยะยาว สินทรัพย์หมุนเวียนมูลค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง หนี้สินหมุนเวียนเพิ่มขึ้นหรือลดลง เป็นต้น

3. วิเคราะห์และการจัดลำดับในการชำระหนี้สิน

เป็นการรวมรวบหนี้สินทั้งหมด ซึ่งข้อมูลจะต้องประกอบไปด้วย ยอดหนี้สินคงเหลือทั้งหมด อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมต้องชำระ กำหนดการชำระหนี้สิน และต่อมาก็จะต้องรวบรวมข้อมูลรายรับรายจ่าย และทรัพย์สินต่าง ๆ 

การรวบรวมข้อมูลข้างต้น เพื่อทำให้เราสามารถวางแผนและช่วยจัดลำดับในการชำระหนี้ได้ดีมากขึ้น เช่น ควรจะรีบชำระหนี้สินที่ดอกเบี้ยอัตราสูงก่อน เพื่อทำให้ลดรายจ่ายที่มาจากอัตราดอกเบี้ยก่อน เป็นต้น

4. หาตัวช่วย

การชำระหนี้จะมีตัวช่วยในการรีไฟแนนซ์ การติดต่อโครงการหรือขอเจรจากับเจ้าหนี้ 

  1. การรีไฟแนนซ์  เป็นการทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลง และยังเป็นการเปลี่ยนเจ้าหนี้ ซึ่งหลัก ๆ จะเป็นมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยลดลง และทำให้มีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น ชำระหนี้ไม่เป็นหนี้เสีย
  2. โครงการช่วยเหลือหนี้สินและการขอเจรจากับเจ้าหนี้ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นมาในช่วงโควิด 19 ที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามาให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำ ในด้านการวางแผนเพื่อการชำระหนี้สิน รวมไปถึงการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อจัดการหนี้สิน

5. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

5. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อไม่ให้กลับมาเป็นหนี้สินอีก ซึ่งจะเป็นวิธีการที่ยั่งยืน สิ่งที่ทำให้เป็นหนี้สินอยู่เรื่อย ๆ ก็เพราะการซื้อสินค้าเงินผ่อน การใช้เงินเกินตัว การใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย 

สิ่งเหล่านี้ผู้ที่ไม่อยากจะกลับไปเป็นหนี้โดยไม่จำเป็น ก็ควรจะปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายให้เด็ดขาด และควรจะสร้างวินัยการออม ประหยัด และการสร้างรายได้ที่มากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้เรามีเงินออม การลงทุนที่มากขึ้น รวมไปถึงสามารถต่อยอดในธุรกิจของตนเองได้มากขึ้น 

หากเราเริ่มไม่มีหนี้สินและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ก็เป็นสัญญาณที่ดีในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป และทำให้เราประสบความสำเร็จได้

เทคนิคทั้ง 5 เทคนิคเพื่อการจัดการหนี้สิน จะทำให้เรามีมุมมองและวิธีการจัดการหนี้สินมากขึ้น ซึ่งทั้งวิธีการต่าง ๆ ก็ควรจะนำไปปรับใช้กับวิธีการของตนเอง เพื่อให้เข้ากับสถานะภาพทางการเงินของตนเองมากขึ้น และไม่ทำให้ตนเองนั้นลำบากเกินไป พร้อมกับยังจัดการกับหนี้สินของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย 

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG