การมีหนี้สิน ก็ไม่มีใครอยากจะประสบปัญหาอยู่แล้ว แต่กลับบางคนจำเป็นอย่างมาก ๆ ที่จะต้องเป็นหนี้สิน เพราะอาจจะเกิดจากการหมุนเงินในแต่ละเดือนไม่ทัน หรืออาจจะเกิดจากยอดเงินที่ซื้อเป็นจำนวนมากเกินไป ทำให้เงินที่มีอยู่นั้นอาจจะไม่เพียงพอก็เป็นได้ จนอาจจะทำให้การเงินของเรานั้นเกิดปัญหาได้ ดังนั้นหากใครมีหนี้สิน จะต้องวางแผนอย่างไรให้ดี จะต้องผ่อนต่อเดือนกี่บาท ถึงสถานการณ์ทางการเงินของเราไหว
“ไม่มีใครอยากเป็นหนี้” แต่ในบางคนก็ปฏิเสธที่จะไม่เป็นหนี้ไม่ได้ เพราะในบางครั้งจะต้องพึ่งพาการกู้หนี้ยืมสินเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามที่วางแผนเอาไว้ ตัวอย่างเช่น กู้เพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อการบริโภค เพื่อการศึกษา เพื่อค่ารักษาพยาบาล หรือเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ ผู้ที่กำลังคิดจะสร้างหนี้ขึ้นมานั้นจำเป็นอย่างมากว่าจะไม่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างหนี้เกินตัวและเกินความสามารถในการชำระหนี้ นั่นแปลว่ามีการคิดรอบคอบก่อนกู้หนี้แล้ว
ในแต่ละเดือน เมื่อเงินเดือนถูกโอนเข้าบัญชีในแต่ละเดือน ช่วงต้นเดือน เราทุกคนอาจจะยังคงรู้สึกอุ่นใจที่เงินยังเหลือเยอะ แต่เมื่อเราได้ถอนไปจ่ายหนี้เงินอาจเหลือใช้จ่ายในแต่ละเดือนเพียงเล็กน้อย หรือบางบัญชีอาจติดลบเพราะมีหนี้มากกว่ารายได้ที่หามาได้ในแต่ละเดือน ดังนั้น เพื่อป้องกันการเป็นหนี้ท่วมหัว ควรหมั่นตรวจสอบสถานการณ์สุขภาพการเงินเป็นประจำ ซึ่งการตรวจสุขภาพทางการเงิน เรียกว่า Debt Service Ratio (DSR) หรืออัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ เพื่อตรวจสอบว่ามีภาระหนี้สินต่อรายได้ในแต่ละเดือนเท่าไหร่ ซึ่งทำให้ไม่เกิดผลเสียในอนาคตได้
สำหรับหนี้สินที่นำมาใช้เพื่อตรวจสุขภาพทางการเงินจะเป็นหนี้สินปัจจุบันต่อเดือน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ผ่อนโทรศัพท์มือถือ ตู้เย็น พัดลม เป็นต้น ส่วนรายได้ที่นำมาคำนวณจะเป็นรายได้ต่อเดือนทั้งหมด เช่น เงินเดือน เงินจากการขายของออนไลน์ เป็นต้น
แน่นอนว่า “ปลดหนี้ให้หมด” เป็นเรื่องยากมาก ๆ เพราะเงินกว่าจะหามาได้จะต้องมาจ่ายดอกเบี้ยในแต่ละเดือน แล้วแบบนี้เมื่อไหร่เราจะใช้หนี้หมด ดังนั้นเรามาดูขั้นตอนที่เราจะปลดหนี้ให้หมดง่าย ๆ
1. วางแผนและรวบรวมข้อมูล
ก่อนจะเริ่มวางแผน เรามาดูหนี้สินของเรานั้นมีอยู่มากน้อยแค่ไหน แล้วเรานั้นสามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเราเองได้หรือไม่ ดังนั้นถ้าหนี้ก้อนนั้นเป็น “หนี้ดี” ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ แต่ถ้าเราไม่สามารถสร้างรายได้ได้ ก็จะเรียกว่า “หนี้เสีย” ซึ่งไม่สามารถตัดสินได้ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องไม่ดี
ถ้าการสร้างหนี้เป็นหนี้สินที่ดี ก็จะเป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวลอะไรเลย เพราะการจัดการหนี้เราสามารถจัดการได้ดีอยู่แล้วแน่นอน และจะต้องทำให้หนี้ดีก้อนนั้นหมดไปให้ได้ แต่ถ้าเป็นหนี้เสียที่ไม่ได้ทำให้รายได้ของเรากระทบมากนัก แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็จะต้องควรจะรีบทำให้หนี้เสียก้อนนั้นออกไปให้เร็วที่สุดเท่าที่เราจะไหว
2. ชำระหนี้ดอกเบี้ยสูงก่อน
หลังจากที่เราตรวจสอบหนี้สินของเราทั้งหมดแล้ว ก็จะต้องมาจัดลำดับการปิดหนี้สิน เพราะการตรวจสอบก็จะทำให้เรารู้ด้วยว่าหนี้ในแต่ละก้อนมีอัตราดอกเบี้ยเท่าไร และจะต้องนำหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดมากที่สุกมาผ่อนชำระให้หมดก่อนหนี้ก้อนอื่น ๆ เพราะว่าหนี้สินนั้นจะทำให้เรามีรายจ่ายต่อเดือนมาก และเป็นอุปสรรคต่อการชำระหนี้อื่น ๆ อีกเช่นกัน
ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว หนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงจะเป็นประเภทหนี้ระยะสั้น เช่น หนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น โดยอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ประมาณ18 – 20% ต่อปี ถึงแม้ว่าจะเป็นการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกแล้ว แต่ก็ควรที่จะรีบปิดหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดก่อนอีกเช่นกัน
3. การกู้หนี้ใหม่มาปิดหนี้เก่า
การกู้หนี้ใหม่มาปิดหนี้เก่าจะมีอีหนึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือเรื่องรายจ่ายดอกเบี้ย ถ้าเป็นประเภทหนี้บัตรกดเงินสด บัตรเครดิต หรือหนี้นอกระบบ สิ่งเหล่านี้จะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก ซึ่งอาจจะต้องหาธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อรายใหม่แล้วนำมาปิดหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง หรือเรียกว่า “รีไฟแนนซ์”
เพราะการสร้างหนี้ใหม่เพื่อมาปิดหนี้เก่า สามารถทำได้ แต่เราจะต้องมีเครดิตที่น่าเชื่อถือทางการเงิน เพื่อทำให้ทางสถาบันทางการเงินหรือธนาคารมั่นใจว่า เรานั้นจะไม่ทำให้เกิดหนี้เสีย
โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ จะเป็นหนี้ที่มีความอันตรายสูงมากและมีอัตราดอกเบี้ยที่แพงมากเช่นกัน ดังนั้นใครที่พลาดกู้เงินนอกระบบ จะต้องพยายามทำให้เป็นหนี้ในระบบให้เร็วที่สุด เพื่อทำให้เราสามารถปลดหนี้ได้เร็วมากขึ้น
4. รักษาวินัยทางการเงิน
ไม่ว่าจะมีหนี้สินมากแค่ไหน แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือเครดิตทางการเงินของเรา เพราะเครดิตการเงินนั้นก็เปรียบเสมือนความน่าเชื่อถือของเรา ไม่ว่าจะมีหนี้มากหรือมีหนี้น้อย ก็ควรที่จะต้องจ่ายให้ตรงตามงวดที่ได้ตกลงไว้ แต่ถ้าเรารู้ตัวว่าเราจ่ายค่างวดไม่ไหว ก็จะต้องขอเจรจากับทางสถาบันทางการเงินเพื่อขอลดค่างวดหรือขอเพิ่มเวลาออกไป
ดังนั้นการมีหนี้สินนั้นก็เป็นเรื่องที่เราสามารถจัดการได้ง่าย และการมีหนี้สินเราจะมีแนวทางในการวางแผนอย่างไรให้ดี รวมไปถึงการปลดหนี้อย่างมีประสิทธิภาพที่มากขึ้นอีกด้วย ดังนั้น เราจะต้องรู้ว่ารายได้และรายจ่ายของเราในแต่ละเดือนนั้นมากน้อยแค่ไหน และทำให้เราสามารถที่จะแบ่งสัดส่วนความจำเป็นของรายจ่ายได้ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น ซึ่งเราจะต้องพยายามตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกก่อน เพื่อเป็นการปลดหนี้ได้อย่างเร็วที่สุด