สรุปค่าลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้าง

ค่าลดหย่อนภาษี

การลดหย่อนภาษีในแต่ละปีก็จะมีการปรับเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา และช่วงปลายปีกับต้นปี ทุกคนก็จะต้องเตรียมตัวเพื่อที่จะเสียภาษี แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรกันว่า อะไรที่สามารถลดหย่อนได้บ้าง แล้วอย่างมนุษย์เงินเดือนมีรายได้เท่าไรถึงจะต้องยื่นเสียภาษี แล้วเราสามารถใช้สิทธิลดหย่อนจากการบริโภคอะไรได้บ้าง ในบทความนี้เราจะมาแจงรายละเอียดกันอีกรอบ เพื่อทำให้เราไม่ต้องจ่ายภาษี หรือจ่ายภาษีน้อยลง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของเราลงได้

ภาษีและเงินได้คืออะไร 

ภาษีและเงินได้คืออะไร 

ภาษี คือ เงินที่ประชาชนที่ต้องชำระให้กับรัฐ เพื่อให้รัฐนำเงินที่ได้ไปเพื่อบำรุงและสร้างเศรษฐกิจในประเทศ ตัวอย่างเช่น ระบบราชการ สาธารณูปโภค และการบำรุงรักษาสถานที่ต่าง ๆ แต่ถ้าเราเป็นมนุษย์เงินเดือน ก็จะถูกเรียกเก็บเงินในประเภท 40(1) ซึ่งจะเป็นสิทธิหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาะ 50% ของรายได้ ซึ่งสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

แต่ถ้าเป็นผู้ที่ได้รับค่าจ้างเป็นงาน หรือเรียกว่า ฟรีแลนซ์ จะจัดอยู่ในกลุ่มประเภทที่ 2 หรือ 40(2) ซึ่งจะได้สิทธิหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ของรายได้ ซึ่งสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

ประเภทของเงินได้มีอะไรบ้าง

  1. ประเภท 40(1) รายได้ที่มาจากหน้าที่การงาน การจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส
  2. ประเภท 40(2) รายได้ที่ได้มาจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน เช่น ค่ารับงาน ค่านายหน้า
  3. ประเภท 40(3) รายได้ที่มาจากค่าลิขสิทธิ์ เช่น รายได้จากการเขียนหนังสือ 
  4. ประเภท 40(4) รายได้ที่ได้มาจากดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร
  5. ประเภท 40(5) รายได้ที่ได้มาจากการให้เช่าทรัพย์สิน ค่าเช่าบ้าน ค่ายานพาหนะ
  6. ประเภท 40(6) รายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ
  7. ประเภท 40(7) รายได้ที่มาจากการรับเหมา
  8. ประเภท 40(8) รายได้ที่มานอกเหนือจาก 7 ประเภทข้างต้น 

ค่าลดหย่อนคืออะไร

ค่าลดหย่อนคืออะไร

ค่าลดหย่อนภาษีเป็นสิทธิประโยนช์ที่ทำให้เรานั้นเสียภาษีน้อยลง และเมื่อทำตามหลักเกณฑ์ที่ทางรัฐบาลนั้นได้กำหนดไว้ ที่ทางรัฐบาลนั้นจะช่วยแบ่งเบาภาระให้กับประชาชน ตัวอย่างเช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนเพื่อการออม เงินบริจาค คู่สมรส เงินเลี้ยงดูบุตร เบี้ยประกัน เป็นต้น

เราจะแบ่งค่าลดหย่อนเป็น 5 หมวด 

  1. หมวดลดหย่อนสำหรับตัวเอง เป็นค่าลดหย่อนที่เกิดขึ้นจากตัวเราเอง หรือจากความสัมพันธ์ในครอบครัว
  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ต่อปี
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาทต่อปี สำหรับคนที่มีคู่สมรส
  • ค่าลดหย่อนบุตร 30,000 บาทสำหรับคนแรก แต่เมื่อได้คนต่อไปคนละ 60,000 บาทต่อปี
  • ค่าลดหย่อนบิดามารดา ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาทต่อปี
  • ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ 60,000 บาทต่อปี
  • ค่าฝากครรภ์และค่าทำคลอด ค่าใช้จ่ายไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
  1. หมวดประกัน ผู้ที่ซื้อประกันจะได้รับสิทธิลดหย่อนเพื่อแบ่งเบาบริหารความเสี่ยงด้วยตัวเอง
  • ประกันชีวิตทั่วไปหรือประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ จะสามารถลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทตามที่ชำระจริง 
  • ประกันสุขภาพบิดามารดา ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
  • ประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และจะต้องไม่เกินจาก 15% ของรายได้
  1. หมวดการเกษียณอายุ เป็นการที่รัฐบาลสนับสนุนให้เราเลือกที่จะนำเงินไปลงทุน เพื่อเป็นหลักประกันในอนาคตที่จะทำให้เรามีเงินใช้ในยามเกษียณ ซึ่งการลงทุนเพื่อการเกษียณจะต้องรวมกับประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วจะไม่เกิน 500,000 บาท 
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้ และจะต้องไม่เกิน 500,000 บาทเมื่อรวมกับหมวดลงทุนเพื่อการเกษียณ
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ และจะต้องไม่เกิน 500,000 บาทเมื่อรวมกับหมวดลงทุนเพื่อการเกษียณ
  • กองทุนรวมเพื่อการออม SSF ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ และจะต้องไม่เกิน 500,000 บาทเมื่อรวมกับหมวดลงทุนเพื่อการเกษียณ
  • กองทุนการออมแห่งชาติ กอช. ไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี แต่จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับหมวดหมู่ลงทุนเพื่อการเกษียณ
  • กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ SSFX ซื้อได้ไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งจะต้องไม่รวมกับการออมเงินเพื่อเกษียณ
  • เงินประกันสังคม ลดหย่อนได้ 5,850 บาท
  1. มาตรการรัฐ มาตรการที่จะส่งเสริมเพิ่มเติมในการกระตุ้นเศรษฐกิจในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายในเรื่องที่จะนำมาลดหย่อนได้นั้น ได้แก่
  • ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย ลดได้สูงสุด 100,000 บาท เมื่อเราซื้อบ้านหรือคอนโดด้วยเงินผ่อน ที่นำดอกเบี้ยที่จ่ายไปกับธนาคารมาลดหย่อนได้ โดยสามารถลดได้เฉพาะที่ดอกเบี้ยเท่านั้นไม่รวมเงินต้น 
  • ช้อปดีมีคืน ลดหย่อนได้สูงสุด 30,000 บาท ซึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี ซึ่งเราจะต้องติดตามข่าวว่าจะเป็นในช่วงเวลาไหน โดยปกติจะเป็นในช่วงปลายปีหรือต้นปี แต่ก็จะมีสินค้าที่ไม่สามารถร่วมมาตรการ ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุรา บุหรี่ สลากกินแบ่งรัฐบาล ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น 
  1. เงินบริจาค
  • บริจาคทั่วไป สามารถลดหย่อนภาษีได้ 10% ของรายได้
  • บริจาคเพื่อการศึกษา สามารถลดหย่อนภาษีได้ 10% ของรายได้
  • เงินบริจาคพรรคการเมือง ลดได้สูงสุด 10,000 บาท

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ก็จะเป็นสิทธิที่เราสามารถนำไปลดหย่อนได้ เพราะในแต่ละปีนั้นก็เราทุกคนจะต้องเสียภาษีตามรายได้ของเรา แต่ถ้าเราอยากจะเสียภาษีให้น้อยลง เราก็จะต้องนำเงินที่เราซื้อประกัน ได้บริจาคเงิน การลดหย่อนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของตนเอง  คู่สมรส บิดามารดา บุตร เป็นต้น

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG