บริหารเงินอย่างไรให้ไม่สะดุด

บริหารเงิน

การบริหารเงินที่ดีนั้นก็ทำให้เราไม่เกิดปัญหา ซึ่งการทำธุรกิจนั้น ปัญหาสภาพคล่องที่ถือว่าเป็นปัญหาที่พบมากในกลุ่มของกิจการขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก SME ดังนั้นถ้าเราไม่อยากเกิดปัญหาเรื่องสภาพคล่อง ก็จะต้องเข้าใจกิจการที่ทำให้เราสามารถบริหารเงินสดสำรองได้ดีมากขึ้น นอกจากนี้แล้วก็ยังจะมีเงินสดและก็จะทำให้เรานั้นบริหารเงินสดได้ดีมากขึ้น เพื่อที่ทำให้สภาพคล่องทางการเงินนั้นดีและไม่มีสะดุดแน่นอน

สภาพคล่องทางการเงินคืออะไร

การที่เราทุกคนหรือบริษัท ก็ควรจะต้องมีสภาพคล่องทางการเงิน หรือมีเงินสำรองในชีวิตไว้นั้น เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก เช่นถ้าเป็นบริษัท ก็ควรที่จะต้องมีเงินสำรองไว้ใช้จ่ายในบริษัท ได้แก่ ค่าจ้าง ค่าต้นทุน หรือวัตถุดิบในการผลิตอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องเป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะต้องจ่ายเงินออกไปก่อนเพื่อให้ได้ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการออกมา เพื่อมาจัดจำหน่าย 

ซึ่งเรามาดูการบริหารจัดการสภาพคล่องที่สามารถทำได้ต่อไปนี้

1. สภาพคล่องกับการเข้าใจธรรมชาติของกิจการ

1. สภาพคล่องกับการเข้าใจธรรมชาติของกิจการ

ไม่ว่าจะเป็นกิจการไหน ๆ ก็ไม่อยากที่จะเจอกับปัญหาสภาพทางการเงินอยู่แล้ว เพราะโดยธรรมชาติของธุรกิจนั้นก็จะมีช่วง High Season และช่วง Low Season อยู่แล้วเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นเราจะต้องบริหารจัดการให้ดี เพราะถ้าเป็นช่วง High Season ก็จะเป็นช่วงที่กิจการนั้นต้องมีการสำรองเงินสดไว้สำหรับการผลิตเพิ่มมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น กิจการผลิตเสื้อนักเรียน ก็จะมียอดขายดีในช่วงที่นักเรียนใกล้จะเปิดเทอม ดังนั้นจะต้องผลิตชุดนักเรียนจำนวนมาก และรายจ่ายที่จะต้องจ่ายเพื่อให้ผลิตสินค้าได้มากขึ้นนั้น ได้แก่ ค่าจ้างพนักงานที่จะต้องทำงานล่วงเวลา ค่าวัตถุดิบ ค่าไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทางธุรกิจนั้นจะต้องจ่ายไปก่อน แต่เมื่อขายให้กับลูกค้าแล้วนั้นจะต้องให้ระยะเวลานานกว่าจะเก็บเงินกลับมาได้ เหมือนกับให้ของไปขายก่อนแล้วค่อยจ่ายเงิน

2. รู้จักวงเงินสด เพื่อช่วยให้กิจการประเมินเงินสดสำรองได้มากขึ้น

2. รู้จักวงเงินสด เพื่อช่วยให้กิจการประเมินเงินสดสำรองได้มากขึ้น

หรือเรียกว่า “วงจรเงินสด” ของกิจการ เพื่อทำให้เรารู้ว่ามีเงินสดสำรองอยู่เท่าไร เพราะวงจรเงินสดนั้นเป็นอัตราส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าระยะเวลาตั้งแต่เริ่มผลิตสินค้าหรือบริการนั้นจะต้องใช้เวลานานแค่ไหนถึงจะได้รับเงินสดกลับมา แล้วยิ่งเราเรียกเก็บเงินได้เร็วมากแค่ไหน ก็เป็นเรื่องที่ดีมากเท่านั้น ซึ่งแบ่งง่าย ๆ เป็น 3 ส่วน

  1. ระยะเวลาขายสินค้า (Inventory Conversion Period) 

วิธีการคิด : 365 / อัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ

  1. ระยะเวลาเก็บหนี้ (Receivable Conversion Period)

วิธีการคิด : 365 / อัตราหมุนเวียนลูกหนี้การค้า

  1. ระยะเวลาชำระหนี้ (Payable Conversion Period)

วิธีการคิด : 365 / อัตราหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า

วงจรเงินสดนั้นจะสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงที่จะขาดสภาพคล่องของกิจการ ซึ่งกิจการที่ยิ่งทำให้วงจรเงินสดที่มีมูลค่าสูงมากขึ้น ก็จะทำให้กิจการมีความเสี่ยงที่จะขาดสภาพคล่องได้เช่นกัน

แล้ววงจรเงินสดคำนวณจาก ระยะเวลาขายสินค้า + ระยะเวลาเก็บหนี้ – ระยะเวลาชำระหนี้ ถ้าหากว่ามีค่าเป็นค่าบวก ทางกิจการเองนั้นจะต้องหาเงินมาเพื่อเป็นเงินสำรองไว้จำนวนมาก แต่ถ้าหากเป็นค่าลบ ก็จะแปลว่ากิจการมีเงินสดเหลือ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีอย่างมากต่อกิจการ เพราะสามารถนำเงินสดไปต่อยอดอย่างอื่นได้

ตัวอย่างเช่น จากตัวอย่างกิจการผลิตเสื้อนักเรียน เมื่อสั่งผ้ามาเพื่อผลิตมูลค่า 100,000 บาท ได้ Credit Term 20 วัน ซึ่งระยะเวลา 5 วันผ้าถึงจะถึงโรงงาน และทางโรงงานใช้เวลา 7 วันในการผลิตชุดนักเรียน และจะต้องใช้เวลาอีก 5 วันเพื่อที่จะส่งของไปถึงลูกค้า ซึ่งทางกิจการให้ระยะเวลาจ่ายเงินอีก 14 วัน 

ดังนั้นระยะเวลาในการผลิตจนของถึงมือลูกค้า 5 + 7 + 5 = 17 วัน และเรียกเก็บเงินลูกหนี้ 14 วัน ซึ่งแปลว่าวงจรเงินสดของกิจการนี้จะเท่ากัน 17 + 14 – 20 = 11 วัน ซึ่งจะหมายถึงว่ากิจการของชุดนักเรียนนี้จะต้องหาเงินสดจำนวน 100,000 บาทจ่ายให้กับลูกค้าก่อนเป็นเวลา 11 วัน เพื่อทำให้กิจการนั้นสามารถดำเนินไปต่อได้แบบไม่สะดุด ก่อนที่เราจะได้รับเงินจากลูกค้า

3. ถ้ามีอำนาจต่อรองมากเท่าไร ก็จะยิ่งช่วยแก้ไขปัญหาสภาพคล่องให้กับทางกิจการได้มากขึ้น

ยิ่งถ้าเรามีกิจการที่มีเงินสดเป็นบวกมาก ๆ ก็จะทำให้เรามีเงินสดสำรองมากขึ้นไปด้วย

  1. ขอเจรจาระยะเวลาในการจ่ายเงิน เพื่อทำให้เรานั้นจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้ได้ช้าที่สุด ช่วยยืดระยะเวลาวงจรเงินสดให้ดีมากขึ้น
  2. เจรจาลดระยะเวลาการจ่ายเงินจากลูกค้า เพื่อให้ได้รับเงินสดจากทางลูกหนี้ได้ไวมากที่สุด ก็จะทำให้เรามีเงินสดสำรองเพื่อเป็นสภาพคล่องทางการเงินดียิ่งขึ้น
  3. เร่งกระบวนการผลิตให้เร็วมากขึ้น ยิ่งผลิตเร็วมากเท่าไน ก็จะยิ่งลดระยะเวลาวงจรเงินสดได้เร็วมากขึ้น

มาถึงตรงนี้แล้ว เป็นอย่างไรบ้างการบริหารเงินอย่างไรไม่ให้สะดุด ก็เป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก เพื่อทำให้เรานั้นสามารถประเมินสภาพทางการเงินของกิจการของเรานั้นได้ในอนาคต และก็สามารถทำให้กิจการของเรานั้นดำเนินต่อไปได้อย่างไม่สะดุด พร้อมกับทำให้กิจการนั้นเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ อีกเสียด้วย และอย่างสุดท้ายก็จะช่วยทำให้กิจการนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นกัน

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG