อัตราดอกเบี้ย เป็นต้นทุนที่ผู้กู้เงินจะต้องจ่าย หรือจะเป็นผลตอบแทนผู้ฝากเงินได้รับจากการฝากเงิน ซึ่งดอกเบี้ยมีการกำหนดโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยอื่น ๆ ในเศรษฐกิจ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยเป็นนโยบายเป็นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำของประเทศ โดยอัตราที่ธนาคารกลางจะจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารพาณิชย์ที่เอาเงินเข้ามาฝาก หรือการเก็บดอกเบี้ยจากการที่ธนาคารพาณิชย์มากู้เงิน ทำให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์จะส่งผลต่อการคิดดอกเบี้ยให้กับลูกค้าที่นำเงินมาฝากออมหรือนำเงินมากู้
การปรับดอกเบี้ยนั้นจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการปรับดอกเบี้ยเงินฝากหรือการปรับดอกเบี้ยเงินกู้ จะปรับตามธนาคารพาณิชย์ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารได้แก่ ความต้องการเงินกู้ ปริมาณเงินฝาก อัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น

การปรับดอกเบี้ยนั้นจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร การปรับอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลอัตราเงินเฟ้อ การใช้จ่ายเงินของประชาชน ที่ส่งผลกระทบของราคาสินค้าและบริการ ซึ่งจะส่งผลต่อผู้กู้เงินหรือผู้ฝากเงิน
เงินเฟ้อนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร
- ประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการที่เพิ่มมากขึ้น
- ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
- เงินเฟ้อที่เกิดจากกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อม
ดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น หากเราเป็นผู้กู้เงิน เราจะต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น แต่หากเราเป็นผู้ฝากเงินก็จะได้รับดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้น ดังนั้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงมากขึ้น ก็จะทำให้เรามีแนวโน้มในการกู้เงินลดลง เพราะดอกเบี้ยการกู้เงินสูงมากขึ้น และทางธนาคารก็จะปรับดอกเบี้ยเงินฝากให้สูงมากขึ้น เพราะผู้คนจะนำเงินมาฝากเพื่อรับดอกเบี้ยที่สูงมากขึ้น เพราะผู้คนก็จะนำเงินกลับมาลงทุนในที่ที่ปลอดภัยมากขึ้น และส่งผลให้ราคาหุ้นและราคาของอสังหาริมทรัพย์นั้นปรับลดลง ซึ่งปัจจัยที่สำคัญมาจากความต้องการของผู้คนนั้นลดลงและประชาชนก็จะมีทิศทางในการใช้จ่ายที่ลดลง ก็จะส่งผลให้ราคาสินค้าและราคาค่าบริการต่าง ๆ นั้นลดลงตามไปด้วย
แต่เมื่อมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลง ก็ต่อเมื่อประชาชนจะนำเงินออกใช้จ่ายมากขึ้น แต่ในทางกลับกันเมื่อดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น คนก็จะนำเงินออกมาใช้จ่ายน้อยลง และทั้งหมดนี้ก็จะส่งผลต่อทั้งราคาของสินค้าและบริการ เพราะการที่ประชาชนจะนำเงินออกมาใช้งาน จะขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย ถ้าหากปรับเพิ่มขึ้นประชาชนก็จะใช้จ่ายน้อยลง แต่หากปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลให้ประชาชนนำเงินออกมาใช้ที่สูงมากกว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นตามหลักอุปสงค์และอุปทานของตลาด

แล้วในแต่ละช่วงเวลาจะมีนโยบายปรับขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ยนั้นจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร
หากในช่วงเวลานั้น เงินในตลาดน้อย ประชาชนมีการใช้จ่ายที่ลดลง ส่งผลให้เศรษฐกิจนั้นชะลอตัว ในเวลานี้ทางธนาคารกลางก็จะลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายที่มากขึ้น และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่ง
แต่หากในช่วงเวลานั้น เงินในตลาดมาก ประชาชนมีการใช้จ่ายที่สูงมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจนั้นเติบโตอย่างรวดเร็วมากจนเกินไป ส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น เงินเฟ้อที่สูงมากขึ้น จนทำให้มูลค่าของค่าเงินนั้นลดต่ำลง หรือวิกฤตการณ์ฟองสบู่แตก ที่ทำให้ราคาสินทรัพย์ลดลงอย่างรวดเร็ว ในกรณีนี้ทางธนาคารกลางก็จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น เพื่อชะลอการใช้จ่ายที่สูงเกินไป และไม่ทำให้เศรษฐกิจนั้นโตเร็วจนเกินไป
ประเทศยักษ์ใหญ่ เมื่อมีนโยบายการปรับดอกเบี้ยสูงขึ้นจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร
เมื่อมีการปรับอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากขึ้น เนื่องจากเงินเฟ้อ ในช่วงวิกฤตการณ์โควิด 19 ที่ผ่านมา จะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไรดีต่อทุกภาคส่วน แต่ไม่ใช่ว่าจะสามารถปรับได้ง่าย ๆ เพราะจะต้องดูว่าประเทศนั้น ๆ อยู่ในสภาวะที่พร้อมหรือไม่ เพราะการปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ก็จะเป็นเพิ่มต้นทุนของทุก ๆ ภาคส่วนอีกเช่นกัน
เนื่องจากหากประเทศมหาอำนาจของโลก มีการปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ก็จะส่งผลให้ประเทศเล็ก ๆ ได้รับผลกระทบต่อเศรษฐกิจแย่ลงไปอีก เพราะเป็นเรื่องของค่าเงิน เช่น ค่าเงินบาทที่อ่อน ก็จะทำให้การซื้อของจากต่างประเทศนั้นมีราคาสูงมากขึ้นไปอีก ซึ่งก็จะเป็นสถานการณ์ที่น่ากลัวอย่างมาก หากผู้ดำเนินการนั้นไม่สามารถควบคุมตัวเลขเงินเฟ้อได้ หรือสามารถควบคุมราคาสินค้าทั้งอุปโภคและบริโภคให้กลับมาอยู่ในระดับราคาที่ปกติได้ ก็จะทำให้ราคาสินค้าและบริการที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ก็คือ ราคาที่สูงขึ้นในทุก ๆ ภาคส่วน
และโดยส่วนใหญ่ประเทศหรือธุรกิจที่ยังไม่ฟื้นฟูจากวิกฤตที่ผ่านมานั้น ก็จะเลือกลงทุนจากเงินกู้ เพื่อเป็นการเติมเม็ดเงินจากระบบเศรษฐกิจที่เราต้องการนำเข้าไปกระตุ้น แต่หากกระตุ้นเศรษฐกิจที่วางแผนไว้ได้ไม่ดี ก็จะเกิดความเสียหายได้
ดังนั้นนโยบายอัตราดอกเบี้ยนั้นจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของเราทั้งหมด ดังนั้นเราจะต้องติดตามข่าวเกี่ยวกับนโยบายเหล่านี้ไว้ด้วย เพื่อเป็นการเตรียมตัวในการบริหารเงินของตนเองตามสถานการณ์ของประเทศและสถานการณ์โลกได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการศึกษาเรียนรู้ในความรู้พื้นฐานการเงินไว้ ก็จะทำให้เราเข้าใจเวลาที่เราอ่านข่าวได้เร็วมากขึ้น พร้อมกับจะจัดการกับข้อมูลที่รับเข้ามาว่าข้อมูลไหนนั้นถูกหรือข้อมูลไหนที่เป็นเรื่องเท็จ
สนใจ >>> จำนำรถ