ใคร ๆ ก็อยากจะมีเงินเก็บเยอะ ๆ เพื่อทำให้ชีวิตเราสบายขึ้น อยากจะซื้ออะไรก็ซื้อได้ อยากจะกินอะไรแพง ๆ ก็ทำได้ และอยากจะได้ไปเที่ยวในที่ที่อยากไปตามความฝันของเรา แล้วจะทำอย่างไรดีที่จะมีเงินเก็บ เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายชีวิตของเรา ยิ่งเป็นนักศึกษาจบใหม่ก็เป็นกลุ่มที่ต้องมีการวางแผนทางการเงินเป็นอย่างดีเลย เพราะว่าควรจะเริ่มทำตั้งแต่เริ่มต้นก็จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายได้เร็วมากขึ้น
บทความนี้จะมาแนะนำเช็คลิสต์ทั้ง 4 ข้อ ที่ควรทำถ้าอยากมีเงินเก็บ และสามารถนำไปปรับใช้ ต่อยอดได้เลยค่ะ
1. ตั้งเป้าหมายการออมเงินให้ชัดเจน
การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน ก็จะเป็นการพาตัวเราไปยังเป้าหมายได้ง่ายมากขึ้น เพราะเราจะเห็นเส้นทางอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายแบบระยะสั้นและระยะยาว เราก็สามารถทำได้ เพราะบางครั้งการมีความฝันก็อาจจะเป็นความฝันไม่ได้ใหญ่มาก แต่เมื่อเราทำได้ ก็เป็นความภูมิใจเล็ก ๆ เพื่อให้มีกำลังใจในการตั้งเป้าหมายในการออมเงินที่ใหญ่มากขึ้น
แล้วทั้งระยะสั้นและระยะยาวมีความแตกต่างกันอย่างไร
เป้าหมายระยะสั้น
- ออมเงินเดือนละ 2,000 บาทต่อเดือน ตลอดระยะเวลา 6 เดือน เป็นจำนวนเงิน 12,000 บาท เพื่อไปเที่ยวต่างจังหวัดสักทริปหนึ่ง
- จะลดค่าใช้จ่ายเครื่องดื่มน้ำอัดลมหรือของหวาน วันละ 50 บาท ตลอดระยะเวลา 6 เดือน เป็นจำนวนเงิน 9,000 บาท
เป้าหมายระยะยาว
- เมื่อเรียนจบมหาวิทยาลัย มีเงินเก็บ 50,000 บาท
- ลงเรียนคอร์สภาษาอังกฤษก่อนเข้าทำงาน 3,000 บาท
2. ทำรายรับรายจ่าย ในแต่ละเดือน
เคยรู้สึกไหมว่า เงินเดือนที่ได้รับก็ไม่น้อย แต่เงินเก็บไม่ค่อยจะเหลือเลย เพราะการใช้จ่ายเงินไปโดยที่ไม่ได้มีการวางแผนนั้นทำให้การเงินของตัวคุณนั้นมีปัญหา เช่น การซื้อของแบบไม่ได้วางแผน หรือคิดให้ดีก่อน หรือจะให้รางวัลตัวเองบ่อยเกินไป เช่น การทานข้าวนอกบ้าน ดูหนัง ท่องเที่ยว ซื้อของในทุกอย่างที่ต้องการ สิ่งเหล่านี้แน่นอนว่าทำให้ตัวคุณนั้นมีความสุข แต่ก็จะมากับปัญหาการเงินในยามฉุกเฉิน และอนาคตแน่นอน
ดังนั้นการทำบัญชีรายรับรายจ่าย จะทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า มีค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ไม่จำเป็น หรือสามารถตัดทิ้งไปได้บ้าง เราควรจะเริ่มต้นวางแผนว่าในแต่ละเดือน สิ่งที่จำเป็นต้องจ่ายอะไรบ้าง เช่น ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าใช้จ่ายครัวเรือน ค่าเดินทาง ค่าอาหาร เป็นต้น เมื่อแจกแจงออกมาได้แล้วก็จะทำให้เห็นแล้วว่าสิ่งไหนควรลดค่าใช้จ่ายลง เพราะรายรับจะต้องมากกว่ารายจ่าย จะทำให้เราวางแผนทางการเงินในอนาคตได้ง่ายมากขึ้น
วิธีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย
- สมุดหรือแอปพลิเคชัน
เพื่อจะคอยเตือนเราให้เราบันทึกอยู่สม่ำเสมอ และเป็นวิธีการสร้างวินัยในการออมเงินอย่างหนึ่ง
- บันทึกทุกครั้งที่มีการใช้เงินหรือมีรายได้
การบันทึกทุกครั้งก็จะทำให้เราเห็นสถานการณ์ทางการเงินของเรา ตั้งแต่รายวันไปจนถึงรายสัปดาห์ ตลอดจนรายเดือน ซึ่งก็จะทำให้เราสามารถวางแผนการเงินของเราในแต่ละเดือนได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
- ควรจะปิดรายรับรายจ่ายในแต่ละวัน
การปิดบัญชีในแต่ละวัน เพื่อให้เราเห็นว่าเรามียอดรายรับและรายจ่ายในแต่ละวันเป็นอย่างไร มีติดลบหรือเปล่า แบบนี้ก็จะทำให้เรารู้ว่าสุดท้ายแล้วจะติดลบหรือเหลือออม
3. เลือกลงทุนให้เหมาะกับตนเอง
การลงทุนนั้นที่บทความนี้แนะนำจะเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อให้เงินต้นนั้นอยู่ครบ ได้ผลตอบแทนที่ยอมรับได้ เพราะเนื่องจากผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นมากกว่าการออมทรัพย์ทั่วไป และก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะการลงทุนมีวิธีที่หลากหลาย ได้แก่ การลงทุนหุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้ ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น แต่บทความนี้จะแนะนำกองทุนที่เหมาะกับมือใหม่ และมีความเสี่ยงต่ำ เช่น
3.1 กองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วไป
กองทุนรวมเป็นการลงทุนตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับเงินฝากออมทรัพย์ แต่มีผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ย และกองทุนนี้ ได้แก่ หุ้นกู้ภาคเอกชนและภาคสถาบันทางการเงิน เป็นการลงทุนที่คุ้มครองเงินต้นของเราไว้
3.2 กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น
กองทุนรวมตราสารหนี้ จะมีนโยบายที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น กองทุนนี้จะมีความผันผวนไม่มาก ใช้เงินลงทุนน้อย เมื่อเริ่มลงทุนในเงินหลักร้อยก็สามารถลงทุนได้ และเป็นกองทุนที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งเราสามารถลงทุนได้ทุกวันทำการ ผลตอบแทนคล้าย ๆ กับการฝากประจำ แต่ไม่จำเป็นต้องกำหนดเวลาการฝากเงินไว้เหมือนกับฝากประจำ
4. กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล
เป็นกองทุนรวมที่เน้นการลงทุนของกระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย และมีความเสี่ยงในการลงทุนที่ต่ำ
การแบ่งเงินจากรายได้ 10%
การแบ่งเงินจากรายได้ 10% ขึ้นไปตามความเหมาะสม เมื่อได้รับเงินมา ก็จะดึงออกมาออมไว้ในทุก ๆ เดือน ถ้าใครกลัวว่าจะนำเงินเก็บออกมาใช้ ลองศึกษาการฝากประจำของแต่ละธนาคารได้ ซึ่งจะมีการฝากประจำตั้งแต่ 3 – 36 เดือน เริ่มต้นที่ 500 บาทต่อเดือน เป็นทางเลือกที่ดีมาก ๆ และทำให้เราเห็นเงินเก็บของเราเติบโตขึ้นทุก ๆ เดือนอีกด้วย
4 เช็คลิสต์ ที่ควร ถ้าอยากมีเงินเก็บ เมื่อเราใส่ใจกับการวางแผนและการบริหารเงินของเราได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น ดังนั้นการที่เรามีเงินเก็บ อยากจะบรรลุเป้าหมายทางการเงิน จะต้องทำตาม 4 เช็คลิสต์ตามข้างต้นได้เลย แต่จะต้องปรับแผนให้เหมาะกับตนเอง เพื่อทำให้เราไม่ลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันมากจนเกินไป