ออมเงินเพื่อวัยเกษียณ

ความรู้เบื้องต้นการเงิน

การออมเงินเพื่อวัยเกษียณ เป็นการวางแผนที่ทำให้เรามีเงินใช้ในยามเราแก่ แล้วเพราะอะไรเราถึงจะต้องวางแผนทางการเงิน เพื่อให้เรามีเงินในการใช้ชีวิตต่อได้โดยไม่ทำให้ลูกหลานนั้นลำบาก และได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมาก อยากจะไปเที่ยว อยากทานอาหาร หรืออยากจะเป็นเงินมรดกให้ลูก ๆ ก็ทำได้ ซึ่งบทความนี้จะมีวิธีการมาเสนอ 3 ข้อ

1. ออมกองทุน – ออมหุ้น

1. ออมกองทุน – ออมหุ้น

การออมเพื่อวัยเกษียณ ที่ไม่ต้องกังวลเรื่องภาษีต่าง ๆ อาจจะต้องเลือกการออมหุ้นหรือการออมกองทุน ซึ่งจะต้องเลือกหุ้นหรือกองทุนที่ดี เพื่อทำให้ลดความเสี่ยงในการลงทุน และการซื้อจะเป็นการทยอยซื้อในจำนวนเงินที่เท่า ๆ กัน ทำให้ได้ราคาเฉลี่ย ซึ่งจะทำให้เหมาะกับการลงทุนระยะยาวเพื่อวัยเกษียณ และที่สำคัญก็ควรจะเลือกกองทุนหรือหุ้นที่มีแนวโน้มจะเติบโตในระยะยาวด้วยเช่นกัน 

เรามาแจกแจงว่าการออมกองทุนและการออมหุ้น แตกต่างกันอย่างไร

1.1 การออมหุ้น 

เป็นการลงทุนแบบทยอยลงทุนอย่างต่อเนื่องในจำนวนเงินที่เท่า ๆ กัน เพื่อทำให้ได้ผลตอบแทนที่ดี เพื่อให้ตรงความต้องการของผู้ลงทุนมากขึ้น ซึ่งการลงทนประเภทนี้ก็จะน่าสนใจในการลงทุนมากกว่าการฝากเงินทั่วไปอย่างมาก แต่การลงทุนก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น

ประโยชน์ของการออมหุ้น

  • ฝึกวินัยการลงทุนของตนเอง เพราะจะเป็นการทยอยซื้อกองทุนหรือหุ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้มีการวางแผนรายได้ของเราในแต่ละเดือนเพื่อแบ่งเงินมาลงทุน
  • มีโอกาสเก็บเงินก้อนในระยะยาว เป็นการนำเงินไปลงทุนในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งเงินที่ลงทุนไปจะเป็นก้อนใหญ่ในอนาคต นอกจากมีเงินก้อนแล้วยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลหรือส่วนต่างของราคาอีกด้วย

สิ่งที่จำเป็นต้องทราบก่อนการลงทุน จะต้องอย่าออมหุ้นเพียงตัวเอง เพราะจะทำให้มีความเสี่ยงมากเกินไป ซึ่งจะต้องเลือกการลงทุน 2-3 ตัวขึ้นไป และที่สำคัญจำเป็นต้องมีเป้าหมายในการออม ซึ่งจะต้องกำหนดเงินที่ต้องการจะออม พร้อมกับผลการตอบแทน รวมไปถึงระยะเวลาในการออมเงินเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สิ่งที่จะเป็นจะต้องศึกษาหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่ออัพเดตข้อมูลต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา 

1.2 การออมกองทุนรวมหุ้น

เป็นการลงทุนรวมหุ้น จะมีมืออาชีพหรือผู้เชียวชาญในด้านการลงทุนมาช่วยเลือกหุ้นเพื่อลงทุนให้ ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการเลือกหรือการติดตามตลาดในแต่ละวันด้วยตัวเอง รวมไปถึงการลงทุนก็ลงทุนน้อยกว่า และสามารถกระจายการลงทุนเพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงอีกด้วย

2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

กองทุนทั้งสองประเภทนี้จะเป็นกองทุนที่มีลักษณะแตกต่างกัน 

2.1 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะเป็นนายจ้างและลูกจ้างที่ร่วมกันตั้งขึ้นมา ซึ่งจะมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บเงินให้ลูกจ้างใช้จ่ายในช่วงวัยเกษียณอายุ ซึ่งกองทุนนี้จะแบ่งออกเป็น 

  • เงินสะสม (ในส่วยของลูกจ้าง) เป็นเงินที่สมาชิกจ่ายเข้ากองทุนและถูกหักจากเงินค่าจ้าง ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุน
  • เงินสะสม (ในส่วยของนายจ้าง) เป็นเงินที่นายจ้าสมทบเข้ากองทุนเป็นประจำตามอัตราที่กำหนดไว้

ประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  • ช่วยเป็นหลักประกันให้กับสมาชิกและครอบครัวไว้เป็นเงินก้อน เพื่อใช้ในยามเกษียณ
  • ช่วยวางแผนการออมเงินในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง
  • เมื่อเป็นกองทุนแล้ว จะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ย เงินปันผล

2.2 กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จะเป็นผู้ที่รับราชการเท่านั้น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นหลักประกันในการจ่ายเงินบำนาญเมื่อเราออกจากราชการ สร้างวินัยในการออมเงิน

ประโยชน์ของบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

  • เงินบำเหน็จบำนาญ

บำเหน็จ ได้แก่ เงินเดือนเดือนสุดท้ายของราชการ

บำนาญ ได้แก่ เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายของอายุราชการ

  • เงินสมาชิกจะได้เงินกองทุน ไม่เกิน 1 เดือนนับตั้งแต่ลาออกจากราชการ

เงินสะสม เป็นเงินที่หักจากเงินเดือนทุกเดือน

เงินสมทบ เป็นเงินที่รัฐช่วยสมทบให้แก่สมาชิก

เงินชดเชย เป็นเงินที่รัฐให้กับสมาชิกเพื่อชดเชยกับผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ซึ่งจะเป็นผู้ที่เลือกรับบำนาญเท่านั้น

3. ประกันชีวิตบำนาญ

ประกันชีวิตที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ได้แก่ ประกันชีวิตในวัยเกษียณ เพราะเนื่องจากเป็นการวางแผนทางการเงินเพื่อใช้ชีวิตหลัง 60 ปี 

ข้อดี เป็นการออมเงินในระยะยาวซึ่งผู้ที่ออมเงินจะต้องมีวินัยในการออมเงินมาก ซึ่งประกันก็จะได้รับความคุ้มครองชีวิตและมีการจ่ายเงินตามสิทธิประโยชน์เมื่อเกษียณ หากชำระค่าเบี้ยประกันครบกำหนด

  • วางใจได้หลังเกษียณ ซึ่งเบี้ยเลี้ยงชีพผู้สูงอายุที่รัฐบาล เริ่มต้นเดือนละ 600 บาทเมื่ออายุ 60 ปี ซึ่งรับรองว่าไม่เพียงพอแน่นอน แต่การทำประกันบำนาญ เพื่อสร้างประกันรายได้หลังวัยเกษียณ ซึ่งผลตอบแทนจะจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปี จนกว่าจะเสียชีวิตหรือตามระยะเวลาของกรมธรรม์
  • ลดหย่อนภาษีได้ ลดหย่อนได้ตามจำนวนเงินของประกันที่จ่ายจริง ซึ่งจะต้องไม่เกิน 15 % และไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี

เมื่อดูมาจนครบทั้ง 3 ข้อแล้ว  การวางแผนทางการเงินควรจะเริ่มต้นวางแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ และยิ่งวางแผนเร็วมากเท่าไรก็ยิ่งทำให้เราทำให้เป้าหมายการเงินสำเร็จมากเท่านั้น ถ้าเราไปออมเงินตอนใกล้ ๆ วัยเกษียณก็จะทำให้เราวางแผนยากมากขึ้นและเหนื่อยมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นลองดูตามความเหมาะสมทางการเงินของตนเอง 

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG