วางแผนภาษีอย่างไรดี

ภาษี

ภาษี คือเงินที่ประชาชนที่ต้องชำระให้กับรัฐ เพื่อให้รัฐนำเงินที่ได้ไปเพื่อบำรุงและสร้างเศรษฐกิจในประเทศ ตัวอย่างเช่น ระบบราชการ สาธารณูปโภค และการบำรุงรักษาสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งภาษีที่เราต้องจ่ายนั้นก็แบ่งออกเป็น 2 ส่วนง่าย ๆ ได้แก่ ภาษีทางตรง เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย เป็นต้น และภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจ เป็นต้น ดังนั้นการวางแผนภาษีนั้นก็เป็นเรื่องที่เราสามารถบริหารจัดการได้เป็นอย่างดีเลย และแนะนำให้เริ่มทำตั้งแต่ช่วงต้นปี เพราะเราจะสามารถวางแผนเรื่องของการลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน 

วางแผนลดหย่อนภาษี จะเริ่มจากตรงไหนดี

การใช้ประกันชีวิต ประกันชีวิตแบบบำนาญนั้นก็เป็นแนวทางที่ดีมาก ๆ ทางหนึ่ง เพราะมีทั้งผลตอบแทน ช่วยสร้างวินัยทางการเงิน พร้อมกับช่วยลดหย่อนภาษีได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น การซื้อประกันที่ช่วยลดหย่อนภาษีไว้ตั้งแต่ต้นปีเลย ก็จะทำให้เราจัดการและบริหารทางการเงินได้ตลอดทั้งปี ถ้าเกิดเราไปเริ่มทำตอนปลายปี ก็อาจจะไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อประกันหรืออาจจะเป็นภาระทางการเงินที่หนักจนเกินไป 

รายได้เท่าไร ถึงจะต้องเสียภาษี เรามาดูตารางรายได้ตามลำดับขั้นกันค่ะ

เงินได้สุทธิ(บาท)เงินได้สุทธิสูงสุดอัตราภาษีร้อยละภาษีในแต่ละขั้นเงินได้ภาษีสะสมสูงสุด
0 – 150,000150,0005ยกเว้นยกเว้น
150,001 – 300,000150,00057,5007,500
300,001 – 500,000200,0001020,00027,500
500,001 – 750,000250,0001537,50065,000
750,001 – 1,000,000250,0002050,000115,000
1,000,001 – 2,000,0001,000,00025250,000365,000
2,000,001 – 4,000,0002,000,00030600,000965,000
4,000,001 ขึ้นไป35

ตัวอย่างเช่น หากเรามีรายได้ทั้งปี 500,000 บาท เมื่อต้องการจะลดหย่อนภาษีแบบเต็มจำนวน จะต้องซื้อกองทุน SSF เป็นจำนวน 30% ของเงินที่จะต้องจ่ายภาษี ซึ่งในรายได้จำนวนนี้จะซื้อได้สูงสุด 150,000 บาท แต่ถ้าหากเราเลือกซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ ก็จะสามารถซื้อได้ 15% ของเงินที่ต้องเสียภาษี จะเป็น 75,000 บาท 

ดังนั้นเมื่อเห็นยอดแล้ว ถ้าเราไม่ได้เตรียมตัวไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้นก็เป็นเรื่องที่ยากมากที่จะมีเงินเพียงพอที่จะซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้เพื่อไปลดหย่อนภาษี 

ทุกคนควรจะต้องเริ่มจากตรงไหนก่อน

ทุกคนควรจะต้องเริ่มจากตรงไหนก่อน

อย่างแรกจะต้องประเมินรายได้ที่จะต้องเสียภาษีตลอดทั้งปีที่ผ่านมา พร้อมกับคำนวณภาษีที่จะต้องเสีย เพื่อทำให้เราสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมกับตัวเราได้มากที่สุด ซึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สามารถลดหย่อนภาษีตามเงื่อนไขของกรมสรรพากรจะมีหลายประเภท ที่นอกเหนือจากประกันสังคมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  1. กองทุนรวมเพื่อการออม “Super Saving Fund หรือ SSF” เป็นตัวเลือกเพื่อให้มีการออมเงินระยะยาวมากขึ้น ที่ไม่มีกำหนดขั้นต่ำ ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทั้งปี และได้สิทธิประโยชน์ทางการลดหย่อนภาษี มีทั้งกองทุนที่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลและไม่จ่ายเงินปันผล
  2. กองทุนรวม RMF หรือ Retirement Mutual Fund เป็นกองทุนรวมประเภทที่ส่งเสริมในการออมเงินระยะยาว เพื่อนำไปใช้จ่ายในยามเกษียณ ซึ่ง RMF ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ แต่จำเป็นที่ต้องซื้อทุกปี
  3. ประกันชีวิต ก็จะมีอยู่ 5 แบบ ได้แก่ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา ประกันชีวิตแบบตลอดชีวิต ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ประกันชีวิตแบบบำนาญ และประกันชีวิตแบบควบการลงทุน

และอย่างต่อมา เราจะต้องดูเป้าหมายทางการเงินของตัวเรา ว่าเมื่อถึงวัยเกษียณอยากจะมีเงินเท่าไร และต้องการเงินใช้ต่อเดือนแค่ไหน รวมไปถึงเงื่อนไขในการลดหย่อนภาษีแบบไหนที่เหมาะกับตัวเรามากที่สุด เพราะฉะนั้นการลดหย่อนภาษีที่ดีมาก ๆ ก็ควรจะทำแผนเกษียณอายุ เนื่องจากเป็นการถือครองได้ยาวนาน และเป็นการออมในระยะยาว ดังนั้นจะเหมาะกันการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี พร้อมกับผลตอบแทนของประกันชีวิต

ประกันชีวิตแบบบำนาญเป็นอย่างไร

ประกันชีวิตแบบบำนาญเป็นอย่างไร

ประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นการซื้อประกันแบบเพื่อใช้ในยามเกษียณ ซึ่งหากเราซื้อประกันตั้งแต่อายุน้อย ๆ ก็จะทำให้เราสามารถวางแผนทางการเงินได้ดีมากขึ้น แต่ว่าผลตอบแทนของประกันของประเภทนี้อาจจะไม่ได้มาก แต่สามารถทำให้เป็นเงินก้อนที่สามารถใช้ในยามเกษียณแน่นอน

จะมีรูปแบบการจ่ายเงิน 2 แบบ

  1. รูปแบบการจ่ายเงินคืน เป็นการจ่ายเงินเหมือนบำนาญ ที่จะมีการจ่ายเงินคืนทุกปี ซึ่งทำให้เรามั่นใจว่าจะมีเงินใช้ในช่วยวัยเกษียณแน่นอน
  2. รูปแบบของผลตอบแทนที่แน่นอน เป็นผลตอบแทนที่ทำให้เรารู้อย่างแน่นอนว่าจะได้รับเงินคืนเท่าไร และเมื่อไร 

ตัวอย่างเช่น อายุการจ่ายประกันเริ่มตั้งแต่อายุ 25 ไปจนถึงอายุ 55- 60 ปี และรับเงินบำนาญปีละประมาณ 10% ขึ้นอยู่กับแต่ละแผนประกัน ซึ่งผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนที่ได้รับนั้นจะไม่ต้องเสียภาษี และยังสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาในอัตรา 15% ได้เช่นกัน ซึ่งจะลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี 

แต่ระหว่างประกันชีวิตกับกองทุน SSF หรือ RMF ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน แต่จะมีเงื่อนไขในการถือครองกองทุน ถ้าต้องการจะใช้กองทุนทั้ง 2 ประเภทนี้เพื่อวางแผนเกษียณอายุเป็นหลักก็จะแนะนำที่ RMF มากกว่า SSF หากต้องการลงทุนของทั้ง 2 ประเภทนี้ จะแนะนำให้ศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการลงทุนเสมอ

ดังนั้นการวางแผนภาษีของแต่ละคนก็ไม่ใช่เรื่องน่าปวดหัวอีกต่อไป เพราะเรื่องการจัดการภาษี ทั้งเรื่องประเภทผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้นั้น ก็สามารถศึกษาข้อมูลและเลือกซื้อไม่ว่าจะประกันหรือกองทุนนั้นได้ไม่ยาก แต่จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับทั้งตนเองและทั้งสภาวะทางการเงินด้วยเช่นกัน 

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG