ชาวฟรีแลนซ์จัดการภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง

ความรู้เบื้องต้นการเงิน

ผู้ที่ไม่ได้ทำงานเป็นพนักงานบริษัท หรือเรียกว่า ฟรีแลนซ์ บทความนี้จะมีเทคนิคดี ๆ สำหรับชาวฟรีแลนซ์ในการวางแผนภาษี เพราะทุกคนที่มีรายได้จะต้องเสียภาษี ดังนั้นเราการวางแผนตั้งแต่ต้น ๆ ก็จะทำให้เราสามารถบริหารจัดการได้ดีมากขึ้น และการหนีภาษีหรือการเลี่ยงภาษี นั้นเป็นเรื่องที่ไม่แนะนำเลย เพราะการหนีภาษี อาจจะทำให้เราถูกปรับให้ภาษีที่จะต้องจ่ายนั้นสูงมากขึ้น ดังนั้นจ่ายภาษีให้ตรง ให้ถูกต้อง และหาวิธีการลดหย่อนภาษีที่ถูกกฎหมายเป็นแนวทางที่ดีที่สุด

วิธีการที่ 1 

ชาวฟรีแลนซ์จัดการภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง 1

รายได้ของฟรีแลนซ์ จะเข้าเงื่อนไขของ 40(2) ซึ่งจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% หรือไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งค่าใช้จ่าย อาจจะเกิดจากการจ้างงานคนอื่นให้ทำต่อ หรือการซื้ออุปกรณ์ในการทำงานเพิ่มเติม ซึ่งจะต้องยื่นเงื่อนไขรายได้ 40(8) จะสามารถยื่นค่าใช้จ่ายทีเกิดขึ้นจริง และแสดงรายได้ตรงตามความเป็นจริง ได้แก่ 

รายได้ – ค่าใช้จ่าย = รายได้สุทธิ 

ซึ่งวิธีการนี้ก็จะทำให้เราจ่ายภาษีนั้นต่ำลง

วิธีการที่ 2 

อย่าลืมเก็บเอกสารเรื่องภาษีให้ดี ในทุก ๆ ครั้งที่ได้รับเอกสาร 50 ทวิ จากผู้จ้างงานหลังวันส่งมอบงาน จะต้องเก็บเอกสารเหล่านั้นไว้เป็นอย่างดี เพราะเราจะต้องเก็บไว้เพื่อยื่นภาษีออนไลน์ หรือสำหรับผู้ที่ต้องการนำเงินมาหักค่าใช้จ่ายตามจริง เอกสารนี้สำคัญมาก ๆ เลย หากไม่มีก็จะไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ 

วิธีการที่ 3

วางแผนการลดหย่อนภาษีให้ถูกต้อง เพราะการเป็นฟรีแลนซ์จะมีรายได้ไม่แน่นอนในแต่ละเดือน ดังนั้นเราจะต้องหาช่องทางนำเงินของเราไปเพิ่มรายได้ และยังช่วยลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ก็จะมีอยู่ 2 วิธีได้แก่

3.1 การแบ่งเงินซื้อกองทุน (ที่สามารถลดหย่อนภาษี SSF RMF) 

ชาวฟรีแลนซ์จัดการภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง 2

 กองทุน SSF “Super Savings Fund” เรียกว่า “กองทุนรวมเพื่อการออม” จะเป็นตัวเลือกทำให้การออมเงินระยะยาวมากขึ้น ไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ และไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี กองทุนนี้จะนำไปลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่จะต้องเสียภาษี และลดหย่อนได้ไม่เกิน 200,000 บาท อีกหนึ่งเงื่อนไขได้แก่ จะต้องถือหน่วยลงทุนมาไม่น้อยกว่า 10 ปี ซึ่งกองทุนจะมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลและไม่จ่ายเงินปันผล

RMF “Retirement Mutual Fund” เรียกว่า “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนรวมที่ส่งเสริมที่ทำให้เกิดออมเงินระยะยาว เพื่อนำไปใช้ในยามเกษียณอายุ กองทุนนี้ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ แต่จำเป็นจะต้องซื้อทุกปี รวมไปถึงจะต้องถือกองทุนอย่างน้อย 5 ปี ซึ่งสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินที่จะต้องเสียภาษี และสูงสุดเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 500,000 บาท

3.2 ลดหย่อนครั้งเดียว

เป็นอีกหนึ่งวิธีที่นิยมสำหรับชาวฟรีแลนซ์ เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกมาก ๆ และยังทำให้เราสามารถดาดการณ์รายได้ทั้งปีได้ดีมากขึ้น และการจัดการในช่วงปลายปีอาจจะเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น เพราะช่วงปลายปีจะเป็นช่วงเวลาที่มีรายจ่ายมาก และทำให้เราอาจจะจัดการไม่ทัน 

3.3 ประกันสุขภาพ

เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ชาวฟรีแลนซ์นิยมอย่างมาก เพราะสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 250,000 บาท ที่นิยมทำประกันสุขภาพ เนื่องจากชาวฟรีแลนซ์จะไม่มีสวัสดิการเหมือนกับพนักงานบริษัท ได้แก เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ จะมีเงื่อนไขในการลดหย่อนภาษีที่แตกต่างกัน

  • เบี้ยประกันชีวิตหรือเบี้ยประกันสุขภาพของตนเอง สามารถนำมาลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง ซึ่งสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท แบบประกันชีวิตจะต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป  หากมีเงินคืนระหว่างสัญญา จะต้องสะสมไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี หรือไม่เกิน 20% ตามช่วงเวลานั้น ๆ เช่นการจ่ายคืนทุก 2 ปี หรือ 3 ปี ตามข้อกำหนดของเบี้ยประกัน
    • เน้นคุ้มครองชีวิต พร้อมมีเงินก้อนให้กับคนข้างหลัง

ไลฟ์ โพรเทคเตอร์ 90/20 คุ้มครองชีวิตถึงอายุ 90 ปี จ่ายเบี้ย 20 ปี

สุพรีม ไลฟ์ โพรเทคเตอร์ 90/20 คุ้มครองชีวิตถึงอายุ 90 ปี จ่ายเบี้ย 20 ปี

แบบประกันชีวิตตลอดชีพ คุ้มครองชีวิตถึงอายุ 99 ปี เลือกจ่ายเบี้ย 15 ปี หรือถึงอายุ 90 ปี

แบบประกันตลอดชีพ เอ็กซ์ตร้า คุ้มครองชีวิตถึงอายุ 90 ปี แบบมีเงินคืน จ่ายเบี้ยเพียง 15 ปี

  • เน้นสะสมทรัพย์ มีเงินคืนระหว่างทาง พร้อมมีเงินก้อนไว้ใช้ในอนาคต

สมาร์ท เซฟวิ่งส์ คุ้มครองชีวิต 12 ปี จ่ายเบี้ยสั้นเพียง 4 ปี

7 สมาร์ท แพลน คุ้มครองชีวิต 21 ปี จ่ายเบี้ย 7 ปี

15 สมาร์ท แพลน คุ้มครองชีวิต 21 ปี จ่ายเบี้ย 15 ปี

  • เบี้ยประกันของบำนาญที่ทำให้ตนเอง สามารถนำมาลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และจะไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่จะต้องเสียภาษี
    • เน้นเงินบำนาญและวางแผนเกษียณอายุ

แอนนิวตี้ เรดดี้ เลือกการเริ่มรับเงินบำนาญได้ตั้งแต่อายุ 60 หรือ 65 ปี จนถึงอายุครบ 90 ปี

แอนนิวตี้ เรดดี้ ชำระเบี้ย 5 ปี เริ่มรับเงินบำนาญตั้งแต่อายุ 60 ปี จนถึงอายุครบ 90 ปี จากการจ่ายเบี้ยเพียง 5 ปี

ประกันสุขภาพที่น่าสนใจจะต้องดูจากอะไรบ้าง

  • การเหมาครอบคลุม ทั้งในกรณีที่เราเจ็บป่วยหรือกรณีผ่าตัด
  • การเหมาคุ้มค่า จะสามารถที่นำเบี้ยประกันนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
  • การเหมาจ่ายตั้งแต่บาทแรก ซึ่งจะเหมาจ่ายสูงสุด 500,000 บาท

เงื่อนไขที่ประกันสุขภาพนำไปลดหย่อนภาษีได้

  • ประกันที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ชดเชยทุพพลภาพ และการสูญเสียอวัยวะ
  • ประกันอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษา ทั้งเรื่องการทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และกระดูแตกหักของกระดูก
  • ประกันโรคร้ายแรง
  • ประกันภัยการดูแลระยะยาว

ดังนั้นการจัดการภาษีให้ถูกต้องและทำให้เราประหยัดรายจ่ายมากที่สุดจะต้องทำตามบทความข้างต้นนี้เลยค่ะ รับรองเลยว่า ชาวฟรีแลนซ์จะมีเงินและจัดการระบบทางการเงินของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแน่นอน

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG