การมีสินทรัพย์ถาวรจะต้องมีการคิดค่าเสื่อมของสินทรัพย์ด้วย ดังนั้นจะเป็นศัพท์ที่เรามักจะได้ยินอยู่บ่อย ๆ ว่าค่าเสื่อมของราคาทางธุรกิจ ได้แก่ ที่ดิน อาคารหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดนี้จะช่วยให้บริหารค่าใช้จ่ายในบริษัทและการวางแผนภาษีได้ดีมากขึ้นอีกด้วย
สินทรัพย์ประเภทที่ดิน อสังหาริมทรัพย์และอุปกรณ์ เป็นสินทรัพย์ที่สามารถจับต้องได้ และเป็นทรัพย์สินที่ใช้ประโยชน์ในการต่อยอดธุรกิจ ทั้งการจำหน่ายสินค้าหรือการให้บริการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถใช้ได้มากกว่าหนึ่งรอบระยะบัญชี เพราะทุกอย่างเป็นต้นทุนโดยตรง
ก่อนอื่นเราทำความเข้าใจเรื่องค่าเสื่อมของราคากันก่อน

การคิดค่าเสื่อมของราคานั้น มาจากสินทรัพย์ถาวรและสามารถจับต้องได้ ซึ่งจะเป็นสินทรัพย์ที่เพื่อไว้ดำเนินงานของกิจการ โดยจะมีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปีขึ้นไป และจำทยอยตัดค่าใช้จ่ายของสินทรัพย์ถาสรไปตามอายุการใช้งาน เพื่อให้ค่าใช้จ่ายในการซื้อสิทนทรัพย์ถาวรทยอยบันทึกลงในบัญชีในรูปแบบค่าเสื่อมของราคา เพื่อให้เราจัดการกับการบัญชี พร้อมกับการวางแผนทั้งงบประมาณ วางแผนภาษีนั้นง่ายมากขึ้น เพราะถ้าหากเราไม่มีการคำนวณเงินส่วนนี้เข้าไป หากเกิดความเสียหากของสินทรัพย์ขึ้นมาก็จะไม่รู้ว่าจะดึงเงินจากส่วนไหนออกมาเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
เราจะแบ่งออกเป็น ราคาที่ดิน ออกมาจากสิ่งปลูกสร้าง เหตุผลเพราะว่า ที่ดินนั้นจะไม่มีการเสื่อมของราคา มีแต่จะปรับราคาให้สูงมากขึ้น แต่สิ่งปลูกสร้างนั้นจะมีการสึกหรอไปตามการใช้งานและตามระยะเวลา ดังนั้นจะมีการคิดค่าเสื่อมของอสังหาริมทรัพย์
วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา
1. การคิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง
จะเป็นการคิดค่าเสื่อมราคาต่อปี ซึ่งเป็นการคิดค่าเสื่อมราคาเฉลี่ยออกมาเป็นรายปี ปีละเท่า ๆ กัน แล้วก็ผลจากการคำนวณค่าเสื่อมราคาไปหักกับมูลค่าทรัพย์สินตลอดอายุการใช้งานซึ่งวิธีการนี้จะเหมาะกับการคิดกับอุปกรณ์การใช้งาน ซึ่งอัตราค่าเสื่อมของราคาอสังหาริมทรัพย์อยู่ที่ 5% ต่อปี แต่หากเป็นอาคารชั่วคราวที่จะต้องมีการรื้อถอนนั้นจะคิดค่าเสื่อมราคาอยู่ที่ 100% ของมูลค่าทั้งหมด
วิธีการคิด : ค่าเสื่อมราคาต่อปี = (ราคาทุนของสินทรัพย์ – มูลค่าคงเหลือ) / อายุการใช้งาน
ตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์ราคาเครื่องละ 50,000 บาท มูลค่าคงเหลือ 10,000 บาท อายุการใช้งาน 10 ปี
ดังนั้นค่าเสื่อมของราคาจะเป็น 4,000 บาทต่อปี
2. การคิดค่าเสื่อมราคาแบบอัตราเร่ง หรือเป็นการคิด 2เท่าของค่าเสื่อมแบบเส้นตรง
จะคิดค่าเสื่อมของราคาที่สูงในช่วงปีแรก แต่ในช่วงปีถัด ๆ ไปก็จะลดลงตามจำนวนปี ตัวอย่างเช่น ซื้อคอมพิวเตอร์มาใหม่ ที่จะมีประสิทธิภาพที่สูงในช่วงแรก แต่พอปีถัด ๆ ไปประสิทธิภาพนั้นลดต่ำลงเรื่อย ๆ เนื่องจากเสื่อมสภาพ ซึ่งอาจจะต้องมีการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษา และอาจจะมีค่าใช้จ่ายเหล่านี้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
วิธีการคิด : ค่าเสื่อมราคา = (ราคาทุน – ค่าเสื่อมราคาสะสม) x อัตราเสื่อมราคาทวีคูณ
ตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์ราคาเครื่องละ 50,000 บาท มูลค่าคงเหลือ 10,000 บาท อายุการใช้งาน 10 ปี
อัตราค่าเสื่อมของราคา 100/10*2 = 20%
ปีที่ | ราคาตามบัญชี | อัตราเสื่อมราคา | ค่าเสื่อมราคา | ราคาคงเหลือ |
1 | 50,000 | 20% | 10,000 | 40,000 |
2 | 40,000 | 20% | 8,000 | 32,000 |
3 | 32,000 | 20% | 6,400 | 25,600 |
4 | 25,600 | 20% | 5,120 | 20,480 |
5 | 20,480 | 20% | 4,096 | 16,384 |
6 | 16,384 | 20% | 3,276.8 | 13,107.2 |
7 | 13,107.2 | 20% | 2,621.44 | 10,485.76 |
8 | 10,485.76 | 20% | 2,097.152 | 8,388.608 |
9 | 8,388.608 | 20% | 1,677.721 | 6,710.887 |
10 | 6,710.887 | 20% | 1,342.177 | 5,368.71 |

3. การคิดค่าเสื่อมราคาตามจำนวนผลผลิต หรือคิดค่าเสื่อมตามความจริง
เป็นวิธีในการคำนวณค่าเสื่อมตามสัดส่วนที่ได้ใช้งานจริง ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องคำนวณจากราคาทุน มูลค่าคงเหลือ ปริมาณในการผลิตทั้งหมด จำนวนที่สามารถผลิตได้ในแต่ละปี เพราะทั้งหมดนี้จะเป็นได้มีการคำนวณต้นทุนของสินค้าได้อย่างถูกต้อง และสร้างกำไรให้ธุรกิจของตนเองได้
วิธีการคิด : ค่าเสื่อราคาแบบจำนวนการผลิต = (ราคาทุน – ราคาซาก) / จำนวนผลผลิตทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น เครื่องจักรสามารถผลิตสินค้าได้ 1,000,000 ชิ้นตลอดอายุการใช้งาน
ราคาทุนของเครื่องจักร 1,200,000 บาท
ราคาซาก 200,000 บาท
จำนวนผลผลิตทั้งหมด 1,000,000 ชิ้น
ดังนั้นเมื่อเฉลี่ยแล้ว เครื่องจักรเครื่องนี้ จะมีต้นทุน 1 บาท ต่อ 1 ชิ้น แต่ถ้าในช่วง 1 ปีผลิตสินค้า 250,000 ชิ้น ก็จะมีราคาค่าเสื่อมของเครื่องจักร 250,000 บาท
4. การคิดค่าเสื่อมราคารวมจำนวนปี
จะเป็นวิธีการใช้สัดส่วนจำนวนปีที่เหลือของการใช้งานนั้น ๆ มีคิดค่าเสื่อม
วิธีการคิด : (ราคาทุน – มูลค่าคงเหลือ) x จำนวนปีที่เหลือ / ผลรวมจำนวนปี
ตัวอย่างเช่น
ซื้อคอมพิวเตอร์วันที่ 11/01/2023
ราคา 35,000 บาท
มูลค่าซากของสินทรัพย์ 2,000 บาท
อายุการใช้งาน 5 ปี
โดยคิดค่าเสื่อมราคาวิธีผลรวมตัวเลขจำนวนปี
ราคาสินทรัพย์ที่นำมาคิดค่าเสื่อมราคา = ราคาสินทรัพย์ – ราคาซาก
= 35,000 – 2,000
= 33,000
ปีที่ | ราคาสินทรัพย์ | ผลคูณ | ค่าเสื่อมของราคา | |
1 | 33,000 | x | 5/15 | 11,000 |
2 | 33,000 | x | 4/15 | 8,800 |
3 | 33,000 | x | 3/15 | 6,600 |
4 | 33,000 | x | 2/15 | 4,400 |
5 | 33,000 | x | 1/15 | 2,200 |
15 | 15/15 | 33,000 |
ค่าเสื่อมของราคานั้นจะส่งผลกระทบต่อการงบประมาณ เพราะของทุกอย่างนั้นจะมีการเสื่อมสภาพลงไปเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา และเป็นเรื่องที่ผู้ที่ทำบัญชีนั้นก็ควรจะเข้าใจ เพราะจะเกิดตัวเลขเหล่านี้ขึ้นในบัญชี รวมไปถึงจะได้เข้าใจว่ากำไรสุทธิของบริษัทนั้นมีที่มาอย่างไร