ในปัจจุบันนี้การซื้อสินค้าก็ง่ายกว่าแต่ก่อนมาก ๆ เพราะสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงกดผ่านโทรศัพท์ ก็อาจจะทำให้หลาย ๆ คนไม่สามารถห้ามใจในการซื้อของได้ในแต่ละครั้งเลย โดยเฉพาะช่วงเงินเดือนออกที่จะต้องรีบชอปปิ้งเลย และแน่นอนว่าถ้าเรามีวินัยในการใช้จ่ายที่ดี ปัญหาหนี้สินตรงนี้ก็จะจัดการได้ง่าย ๆ แต่ถ้าหากไม่มีวินัยที่ดีก็อาจจะทำให้เรามีหนี้สินในระยะยาวแน่นอน ดังนั้นจะต้องถามตัวเองให้ดี ๆ ก่อนจะซื้ออะไร
ทุกวันนี้ถ้าเราอยากจะซื้อของสักชิ้น แทนที่จะต้องเดินไปซื้อหรือจะต้องขับรถไปห้างสรรพสินค้า แต่ในปัจจุบันเพียงแค่หยิบโทรศัพท์มากดสั่งซื้อ และของก็มาส่งให้ถึงหน้าประตู เพราะเทคโนโลยีทำให้เราได้รับความสะดวกสบายมากขึ้นกว่าสมัยก่อน แต่ก็จะตามมาด้วยการจ่ายเงินจำนวนมากขึ้นเช่นกัน
การเสพติดการชอปปิ้งนั้นเป็นหนึ่งในโรคหรืออาการทางจิต ที่ยังไม่มีแนวทางในการรักษาอย่างชัดเจน ดังนั้นจะมาดูปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเราชอปปิ้งเกินตัว เพื่อเป็นแนวทางการบำบัดรักษา
- ความสะดวกสบายในการซื้อของออนไลน์ ไม่ว่าจะผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชอปปิงเกินตัวได้ กว่าจะรู้ตัวของก็เต็มบ้านแล้ว
- สื่อโฆษณาจากช่องทางต่าง ๆ รวมถึงดารา นักแสดง และเหล่า Influencer เมื่อได้เห็นบ่อย ๆ ก็ทำให้เกิดความอยากได้อยากมี หรือเพียงเพราะซื้อตามบุคคลที่ตัวเองชื่นชอบ
- ความต้องการเป็นที่ยอมรับในสังคมหรือกลุ่มคนที่ตัวเองต้องการเป็นส่วนหนึ่ง จึงเปลี่ยนสไตล์การแต่งตัว ซื้อเสื้อผ้าใหม่ ซื้อของแบรนด์เนม หรือทำกิจกรรมเพื่อเข้าสังคม เช่น ตีกอล์ฟ ออกงานปาร์ตี้ เป็นต้น
- การซื้อเพราะสิ่งเร้าหรือถูกกระตุ้น ในบางครั้งที่ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่เร่งรีบ อาจทำให้ตัดสินใจโดยขาดเหตุผล เช่น เมื่ออยู่ในช่วง Midnight Sale หรือสินค้าที่มีเพียงชิ้นเดียว ถือเป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้ตัดสินใจใช้เงินได้ง่าย เพราะกลัวการสูญเสีย
- บรรเทาความรู้สึกแง่ลบที่เกิดขึ้นในใจ เมื่อรู้สึกเหงา เศร้า เสียใจ หรือเครียด หลายคนมักหาทางออกด้วยการชอปปิงเพื่อเยียวยาจิตใจ
ผลลัพธ์ของการชอปปิ้งเกินตัวจะเป็นอย่างไร
แม้ว่าในทางจิตวิทยา การชอปปิงถือเป็นหนึ่งในการบำบัดหรือเครื่องมือผ่อนคลายประเภทหนึ่ง แต่หากเราไม่สามารถควบคุมการใช้จ่ายได้ก็อาจทำให้เครียดหนักยิ่งกว่าเดิม หากมีหนี้สินหรือมีปัญหาทางการเงินตามมา และอาจเป็นปัญหากับคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดในภายหลังเมื่อต้องปกปิดบิลค่าใช้จ่ายหรือต้องคอยซ่อนสิ่งของที่ซื้อมา ที่แย่กว่านั้น คือ ไปเบียดเบียนเงินกองกลางหรือเงินเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว ดังนั้น สัญญาณอันตรายที่พอจะบอกได้ว่าถึงเวลาต้องระมัดระวังการใช้จ่ายเงินแล้ว คือ
- มีของที่ไม่จำเป็น ไม่ได้ใช้เต็มบ้าน ไม่รู้ว่าซื้อมาทำไม และยังคงซื้อซ้ำ
- มีปัญหาการเงิน ใช้บัตรเครดิตจนเต็มวงเงิน เงินไม่พอใช้ ต้องขอหยิบยืมคนอื่น
- มีความลับกับคนใกล้ตัว กลัวว่าจะมีปัญหา เลยไม่กล้าพูดความจริงเรื่องการใช้จ่ายเงิน
ถ้าหากกำลังประสบปัญหาเสพติดการชอปปิงอยู่ อยากจะลาขาดจากวงจรนี้เสียที ลองดู 5 วิธีจัดการต่อไปนี้
- หางานอดิเรกใหม่ ๆ ในบางครั้งเราอาจจะรู้สึกเบื่อ เหงา ไม่มีอะไรทำเลยจึงเลือกที่จะชอปปิง ทำไมไม่ลองหากิจกรรมอื่นที่ช่วยให้ผ่อนคลายและสนุกไปด้วย เช่น ฝึกเล่นโยคะ เดินเล่นในสวน ปั่นจักรยาน หรือหามุมสงบอ่านหนังสือ
- การจดรายการที่ต้องซื้อเท่านั้น เพราะทุกครั้งเมื่อต้องเดินเข้าห้างหรือซูเปอร์มาร์เก็ต และลองท้าทายตัวเองว่าจะไม่ซื้ออะไรเกินจากรายการที่จดไว้เท่านั้น เหมือนเป็นการเตือนสติที่ดีมาก ๆ วิธีหนึ่งเลย
- ขอความช่วยเหลือจากเพื่อน หากกลัวว่าจะหักห้ามใจไม่ได้เมื่อต้องซื้อของ ลองชวนเพื่อนหรือคนที่ไว้ใจให้คอยเตือนคอยห้าม คอยดึงสติ หรืออาจมอบหน้าที่ให้คนอื่นในครอบครัวเพื่อซื้อของเข้าบ้านแทนก็ได้
- จ่ายเป็นเงินสด เตรียมเงินไปให้พอดีกับของที่ต้องซื้อ เช่น ถ้าตั้งงบซื้อของสดสำหรับทำอาหารสัปดาห์ละ 2,000 บาท ก็เตรียมเงินสดไปแค่นั้น ที่สำคัญห้ามใช้บัตรเครดิต แต่อาจมีติดกระเป๋าไว้สำหรับยามฉุกเฉินเท่านั้น
- ยกเลิกการเป็นสมาชิกเว็บ Shopping Online ไม่รับข่าวสารหรือโปรโมชันใด ๆ รวมถึงลบแอปพลิเคชันซื้อขาย เพื่อตัดสิ่งเร้า หรือปัจจัยที่กระตุ้นความต้องการออกไป
การซื้อของผ่านแอพพลิเคชั่น ซื้อขายง่ายเพียงคลิกเดียว ที่หลาย ๆ คนชื่นชอบในการซื้อขายของแบบนี้ เพราะนอกจากจะทำให้ชีวิตนั้นง่ายมากขึ้น บางครั้งยังช่วยทำให้ประหยัดเงินในกระเป๋า เพราะอาจจะมีโค้ดส่วนลด มีบัตรเครดิตเงินคืน และประหยัดเรื่องค่าเดินทางอีกด้วย แต่หากเรามีพฤติกรรมในการชอปปิ้งตลอดเวลา ถึงแม้ว่าการซื้อของนั้นจะเป็นเรื่องจำเป็นต่อการดำรงชีวิตแล้วก็ยังจะอดใจไม่ไหวที่จะขอพ่วงสินค้าฟุ่มเฟือย หรือเมื่อเดินห้างแล้วเราเห็นป้ายลดราคาก็จะต้องเข้าไปซื้อตลอด ก็อาจจะทำให้สถานะทางการเงินของตัวเอง ถ้าใครกำลังเป็นแบบนี้ควรระวังไว้เป็นอย่างดีเลย เพราะอาจจะเข้าข่ายเสพติดการชอปปิ้งโดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้