5 ขั้นตอนในการเลือกกองทุน

ความรู้เบื้องต้นการเงิน

กองทุนสำหรับมือใหม่หรือมนุษย์เงินเดือนนั้น กำลังเป็นที่น่าสนใจอย่างมากเลย เพราะการเลือกที่จะลงทุนในประเภทกองทุนนั้น เพื่อวัตถุประสงค์ให้เงินนั้นเติบโตและสามารถลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ซึ่งถ้าเห็นข้อดีในการลงทุนแล้วนั้น ขั้นตอนการเลือกลงทุนนั้นมีอะไรบ้าง เราควรที่จะเตรียมตัวอย่างไรก่อนจะลงทุน พร้อมกับต้องศึกษาข้อมูลอะไรก่อน เช่น ความเสี่ยงที่เราจะรับได้ ผลตอบแทนย้อนหลัง ขนาดกองทุนและที่สำคัญเป้าหมายในการลงทุน ถ้าเราต้องการที่จะลดหย่อนภาษีก็จะต้องเลือกลงทุนกองทุนประเภทไหน เป็นต้น

วิธีเลือกกองทุนสำหรับมือใหม่

เพราะการจะเลือกกองทุนสำหรับมือใหม่นั้นเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวพอตัว เพราะกองทุนนั้นมีเป็นร้อยเป็นพันกองทุน ดังนั้นเราจะมาดูวิธีการเลือกทั้ง 5 ขั้นตอนในการเลือกกองทุน ซึ่งจะทำให้มือใหม่นั้นเข้าใจง่ายและสามารถทำตามได้เลย ไม่ยาก แต่จะต้องทำความเข้าใจโดยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อน

1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการลงทุนให้ดีเสียก่อน

เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญอย่างมากสำหรับนักลงทุน เพราะเราจะต้องรู้ก่อนว่าลงทุนกับกองทุนนี้เพื่ออะไร ต้องการลงทุนในระยะเวลาเท่าไร และกองทุนมีวัตถุประสงค์ของเราตรงกับนโยบายของกองทุนหรือไม่ เพราะว่าแต่ละประเภทของกองทุนนั้นก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งระยะเวลา การลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ดังนั้นหากได้กองทุนได้เหมาะสมกับตัววัตถุประสงค์ของตัวเราแล้ว

ตัวอย่างเช่น ต้องการลงทุนเพื่อการออมเงิน อาจจะเลือกเป็นกองทุนเพื่อการออม (SSF) ซึ่งสามารถได้ทั้งผลตอบแทนและสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ด้วยเช่นกัน

2. อัตราผลตอบแทนที่มีความสม่ำเสมอ

2. อัตราผลตอบแทนที่มีความสม่ำเสมอ

ผลตอบแทนที่มีความสม่ำเสมอนั้นเป็นสิ่งที่นักลงทุนไม่ว่าจะมือใหม่ หรือผู้ที่ลงทุนมานานแล้วจะคำนึงเป็นเรื่องแรก ๆ เพราะการที่ทุกคนเลือกมาลงทุนนั้นก็เพราะต้องการผลตอบแทนที่สูงนั้นเอง แต่อย่างลืมว่า ยิ่งผลตอบแทนสูงมากเท่าไร ก็จะมาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงมากขึ้นเท่านั้น แต่กลับเป็นสิ่งที่นักลงทุนชอบจะทำกัน ในการดูผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนที่ให้ผลตอบแทนอยู่ที่เท่าไร เช่น กองทุน A ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 10% ต่อปี เป็นต้น

แต่สิ่งที่นักลงทุนมือใหม่ควรจะดู ก็จะเป็นเรื่องของอัตราผลตอบแทน และควรดูผลตอบแทนย้อนหลังอย่างน้อย 3-5 ปี แต่ถ้าบางกองทุนนั้นมีอายุยาวนานมากกว่า 5-10 ปี เราก็ดูเป็นค่าเฉลี่ยนของผลตอบแทนว่าอยู่ที่เท่าไรแทนได้ เพื่อประกอบการตัดสินใจได้ดีเลย

ซึ่งถ้าดูผลการดำเนินงานในระยะยาวแล้วผลตอบแทนนั้นอาจจะต่ำลง แต่ให้นักลงทุนมือใหม่นั้นเอาผลตอบแทนไปเทียบกับที่นักลงทุนนั้นได้คาดการณ์ไว้ ว่าจะอยู่ในระดับที่เรารับได้หรือไม่ 

3. การเปรียบเทียบความเสี่ยงของตนเอง

ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนใด ๆ ก็ย่อมมีความเสี่ยงในการลงทุนอยู่แล้ว ซึ่งการลงทุนที่ดีจะต้องสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนพึงพอใจตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ แต่ถ้าสำหรับมือใหม่ก็อาจจะไม่ค่อยรู้กันเท่าไร เพราะความเสี่ยงเป็นความผันผวนของกองทุน ยิ่งมีความผันผวนมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น 

และมีอีกอย่างหนึ่งที่ใช้วัดความเสี่ยงของกองทุน ได้แก่ ค่าชาร์ปเรโช เป็นอัตราส่วนของผลตอบแทนต่อหน่วยความเสี่ยง หรือนำอัตราของผลตอบแทนหารด้วยความเสี่ยง และถ้าเป็นกองทุนที่มีค่าชาร์ปเรโชสูงกว่า ก็จะแสดงว่าการบริหารกองทุนนั้นมีประสิทธิภาพที่ดีมาก แต่ก็จะมีความเสี่ยงและโอกาสที่จะขาดทุนสูงเช่นกัน

4. ขนาดของกองทุนแตกต่างอย่างไร

4. ขนาดของกองทุนแตกต่างอย่างไร

ทำไมต้องดูขนาดของกองทุนหรือมูลค่าสินทรัพย์ เพราะกองทุนนั้นมีทั้งกองทุนขนาดใหญ่ กองทุนขนาดกลาง และกองทุนขนาดเล็ก นักลงทุนก็จะต้องเลือกเพราะแต่ละกองทุนนั้นก็จะมีข้อดีข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น กองทุนขนาดใหญ่ที่มีกองขนาดหลายหมื่นล้าน ก็อาจจะมีต้นทุนหรือค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่ากองทุนขนาดกลางหรือขนาดเล็ก

แต่ก็อย่าลืมว่ากองทุนขนาดใหญ่ก็ไม่ได้การันตีว่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีเสมอไป หรือจะสามารถได้รับผลตอบแทนที่ดีเสมอไป เนื่องจากกองทุนขนาดใหญ่ก็อาจจะส่งผลต่อราคาหุ้นได้มากกว่ากองขนาดเล็ก

5. ความรู้และความสามารถของผู้จัดการกองทุน

ผู้จัดการกองทุนนั้นมีบทบาทอย่างมากในการกำหนดนโยบายและทิศทางในการลงทุนของกองทุน ดังนั้นนักลงทุนจะต้องรู้ทั้งประวัติ ประสบการณ์และผลงานในการลงทุนย้อนหลังของผู้จัดการกองทุนด้วย เพราะผู้จัดการกองทุนนั้นจะต้องมีจรรยาบรรณที่ดี และจะต้องไม่มีประวัติเสียหายในการบริหาร ดังนั้นก็จะช่วยทำให้กองทุนนั้นมีคุณภาพมากที่สุด

และจากข้อมูลที่ผ่านมา จะเห็นว่าการลงทุนในกองทุนรวม หรือกองทุน SSF/RMF นั้นจะมีโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยในช่วงเวลา 5 ปี อยู่ประมาณ​ 7 – 12% ต่อปี ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่ถือว่าดีมาก ๆ เลย และยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

เราดูมาครบทั้ง 5 ขั้นตอนแล้ว ดังนั้นเราจะต้องศึกษาข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ การเปรียบเทียบข้อมูล ความเสี่ยง และอัตราผลตอบแทนทั้งย้อนหลังว่ามีความสม่ำเสมอหรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราบรรลุวัตถุประสงค์ในการลงทุนได้ และอีกอย่างหนึ่งการศึกษาข้อมูลโดยละเอียดก็จะทำให้เราเข้าใจถึงกองทุนพื้นฐาน กองทุนลงทุนประเภทไหน กองทุนเกี่ยวกับอะไร และผลตอบแทนนั้นเป็นแบบปันผลหรือเป็นแบบซื้อในราคาต่ำและขายในราคาที่สูง ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เราจะต้องทำความเข้าใจให้ละเอียดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้  

credit : slothub888

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG