บริหารค่าใช้จ่ายและภาระหนี้สินอย่างไร ให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด

บริหารค่าใช้จ่ายและภาระหนี้สินอย่างไร

เมื่อถึงวัยทำงาน วัยใกล้เกษียณก็ควรจะต้องเริ่มบริหารค่าใช้จ่ายให้รอบคอบมากขึ้น และควรจะปลดภาระหนี้สินที่มีอยู่ให้เร็วที่สุด เพราะเหลือเวลาที่จะบริหารทางการเงินจากความผิดพลาดได้อีกไม่นาน และเมื่อเราลองเริ่มบริหารค่าใช้จ่ายและหนี้สินด้วยการจดบันทึกรายได้ค่าใช้จ่ายและช่วยลกภาระหนี้สินให้หมดเสียก่อนวัยเกษียณ  

หากแต่ละคนกำลังเริ่มใช้เงินเดือนชนเดือนอยู่เสมอ จะวางแผนชีวิตหลังเกษียณได้ดีอย่างไร เพราะช่วงที่เรามีแรง อาจจะใช้เงินจนสุขสบายเกินไป จนอาจจะทำให้เป็นหนี้ท่วมหัว จนอาจจะไม่สามารถที่จะปลดนี้ได้ก่อนวัยเกษียณก็อาจจะเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ และอาจจะทำให้ช่วงวัยเกษียณของเรานั้นไม่สุขสบายก็ได้

ดังนั้นเมื่อเราเห็นแบบนี้แล้ว การบริหารเงินได้ไม่ดี แล้วที่ผ่านมานั้นเราใช้ชีวิตติดหรูอยู่สบายจนเคยชิน เมื่อถึงวัยเกษียณคงจะต้องมาเริ่มตั้งต้นกันใหม่ โดยเฉพาะการบริหารค่าใช้จ่ายให้รอบคอบมากขึ้น และการปลดภาระหนี้สินที่มีอยู่ให้เร็วที่สุด เพราะเหลือเวลาแก้ตัวอีกไม่นาน

1. จดบันทึกรายได้และค่าใช้จ่าย

1. จดบันทึกรายได้และค่าใช้จ่าย

ในการจดบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายของตัวเราเอง ในแต่ละเดือน ก็จะทำให้เราประมาณการณ์คร่าว ๆ และสามารถทำให้เราวางแผนได้อีกเช่นกัน ซึ่งในแต่ละเดือนต้องวางแผนการใช้จ่ายให้ชัดเจนว่า จะมีค่าใช้จ่ายอะไร เป็นเงินเท่าไร และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องควบคุมให้เป็นตามแผนที่วางไว้ด้วย ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือ การจดบันทึกรายได้ค่าใช้จ่าย เพราะนอกจากจะรู้ว่าทุกบาททุกสตางค์ที่ออกจากกระเป๋าเป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ป้องกันเงินรั่วไหลหรือไม่เป็นไปตามแผนแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วย

2. ลดภาระหนี้สิน

ถ้าจะให้ดี ก่อนเกษียณสัก 4-5 ปี ควรจะเริ่มสำรวจหนี้สินว่า ว่าเรานั้นยังมีหนี้อะไร อยู่ตรงไหนบ้าง จำนวนเงินต้นมากน้อยแค่ไหน และดอกเบี้ยเท่าไร จากนั้นให้เพิ่มจำนวนเงินที่จะจ่ายหนี้ในแต่ละเดือนให้มากขึ้น โดยอาจจะนำไปปลดหนี้ที่เริ่มจากดังนี้

  1. ดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะเหมาะกับ “หนี้ที่คิดอัตราดอกเบี้ยแบบทบต้นทบดอก” เพราะยิ่งผ่อนให้เงินต้นลดลงเร็วก็จะยิ่งเสียดอกเบี้ยน้อย หรือ
  2. มูลหนี้คงเหลือน้อยที่สุดก่อน เพื่อลดจำนวนเจ้าหนี้ และทำให้มีเงินเหลือไปจ่ายหนี้รายอื่นได้มากขึ้น ซึ่งเหมาะกับ “หนี้ที่คิดดอกเบี้ยคงที่” เพราะไม่ว่าจะผ่อนให้หมดเร็วหรือช้า เจ้าหนี้ก็คิดดอกเบี้ยรวมในเงินผ่อนแต่ละเดือนอยู่แล้ว

นอกจากนี้ อาจจะไปทำกับทางธนาคารเรื่องรีไฟแนนซ์ โดยรวมหนี้จากหลาย ๆ ที่ให้มาเป็นก้อนเดียว เพื่อลดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนต่อเดือนให้อยู่ในภาระที่พอรับได้ หรือ เพื่อลดอัตราดอกเบี้ย แต่ก็ต้องศึกษาเงื่อนไขต่าง ๆ และคำนวณดอกเบี้ยรวมค่าธรรมเนียมก่อนว่า คุ้มหรือไม่ เพราะระยะเวลาการผ่อนชำระอาจจะนานขึ้น ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมดก็อาจจะมากขึ้นด้วย ไม่ใช่แค่ภาระหนี้เท่านั้นที่ต้องปลดให้หมดก่อนวัยเกษียณ แต่ยังรวมถึงภาระค้ำประกันต่าง ๆ ทั้งการค้ำประกันเงินกู้ และการค้ำประกันคนเข้าทำงาน ต้องไปปลดภาระออกให้หมด เพราะมันอาจจะทำให้เรากลายเป็นหนี้ในวัยเกษียณแบบไม่รู้ตัว

3. การเตรียมเงินทั้งก้อนสำหรับที่เราจะต้องใช้ทั้งชีวิต

หากมองแบบนี้แล้ว เป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ ที่คนเราจะเตรียมเงินก้อนเพื่อใช้งานตลอดชีวิตได้ ซึ่งแค่เงินเดือนในแต่ละเดือนก็แทบจะไม่เหลือเก็บแล้ว แบบนี้จะต้องทำอย่างไรดี 

เราจะต้องคำนวณว่าเราจะหยุดทำงานเมื่อไร และลองคำนวณว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนเป็นจำนวนเงินเท่าไร ดังนั้นเราก็จะทราบแล้วว่าเราจะต้องเตรียมเงินเท่าไรเพื่อให้เพียงพอกับช่วงชีวิตที่เหลือ เมื่อเราสามารถเก็บเงินก้อนนั้นตามจำนวนที่ได้คำนวณไว้ได้ เราก็จะสามารถหยุดทำงานได้อย่างสบายใจ แต่วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ต้องใช้เวลานานมาก ๆ กว่าจะเก็บออมเพื่อใช้ในช่วงเกษียณอายุ

4. การเตรียมตัวให้มี Passive Income ให้มากกว่ารายจ่ายในแต่ละเดือน

4. การเตรียมตัวให้มี Passive Income ให้มากกว่ารายจ่ายในแต่ละเดือน

การที่เรามีรายรับมากกว่ารายจ่ายนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ยาก และมีหลายวิธีมาก ๆ ที่ทำให้เรามีรายได้ที่มากยิ่งขึ้น ได้แก่ การลงทุนไม่ว่าจะเป็น หุ้น กองทุน หรือจะเป็นอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ก็ล้วนเป็นการให้เงินไปทำงานเพื่อทำให้เกิดรายได้มากขึ้น 

ไม่ว่าจะเป็น ออมกองทุน – ออมหุ้น เพื่อวัยเกษียณเป็นเรื่องที่ไม่ต้องกังวลในเรื่องภาษี อาจจะต้องเลือกหุ้นหรือกองทุนที่ดี และเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน และมีโอกาสเก็บเงินก้อนในระยะยาว เป็นการนำเงินไปลงทุนในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งเงินที่ลงทุนไปจะเป็นก้อนใหญ่ในอนาคต นอกจากมีเงินก้อนแล้วยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลหรือส่วนต่างของราคาอีกด้วย

อย่างถัดมา กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญ เมื่อเป็นกองทุนแล้ว จะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ย หรือรูปแบบเงินปันผล ช่วยวางแผนการออมเงินในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ช่วยเป็นหลักประกันให้กับสมาชิกและครอบครัวไว้เป็นเงินก้อน เพื่อใช้ในยามเกษียณ

ดังนั้นเมื่อเราดูมาครบทั้ง 4 ประเภทแล้ว เรื่องของการบริหารค่าใช้จ่ายและภาระหนี้สินอย่างไร ให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อเห็นวิธีการบริหารการเงินที่ดีแล้ว ก็จะทำให้เรามีประสิทธิภาพทางการเงินของเราได้ดีอีกเช่นกัน และจะทำให้ในวัยเกษียณของเรานั้นทำให้มีชีวิตสุขสบายมากขึ้นอีกเช่นกัน

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG