การเลิกจ้างก็เป็นที่ทราบดีที่ผู้ถูกเลิกจ้างจะต้องได้รับเงินชดเชย เพราะด้วยสภาวะเศรษฐกิจในช่วงปัจจุบันก็จะทำให้มีหลายบริษัทปลดพนักงาน หรือให้ออกจากงาน ดังนั้น การชดเชยจากนายจ้าง เป็นสิ่งที่นายจ้างจะต้องจ่ายจากการให้เราออกจากงานโดยไม่สมัครใจ และพนักงานไม่มีความผิดที่จะให้ต้องออกจากงาน และอีกหนึ่งช่องทาง จะต้องตรวจสอบสิทธิของประกันสังคมว่าจะได้รับเงินช่วยเหลือจากการว่างงาน
ดังนั้น อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือนที่มีเงินเดือน มีรายได้สม่ำเสมอในทุก ๆ เดือนอยู่แล้ว ก็ควรจะมีเงินสำรองฉุกเฉิน เพื่อใช้ในยามจำเป็น หรือในช่วงที่เราว่างงานหรือไม่มีรายได้
การถูกเลิกจ้าง เป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนที่เป็นมนุษย์เงินเดือนไม่อยากประสบ หรืออยากให้เหตุการณ์เหล่านี้มาเกิดขึ้นกับตัวเองแน่นอน แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดจากหลายปัจจัย เช่น สภาวะเศรษฐกิจ สังคมหรือการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นธุรกิจไหน หรือจะเป็นพนักงานตำแหน่งไหนก็แล้วแต่ ก็มีโอกาสถูกเลิกจ้างได้ตามนโยบายบริษัทหรือความจำเป็นในเวลานั้น
เมื่อถูกเลิกจ้าง เราจะมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยจากนายจ้างอย่างไรบ้าง
มนุษย์เงินเดือนจะต้องเรียกร้องค่าชดเชยจากนายจ้าง เพราะเป็นสิทธิ์ของเรา และเงินชดเชยเป็นสิ่งที่นายจ้างจำเป็นต้องจ่ายให้กับพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีที่ให้ออกจากงาน โดยไม่ได้เป็นความผิดของพนักงาน แต่จะเป็นเหตุผลบางอยางของทางบริษัทที่อาจจะต้องลดพนักงานลง
ซึ่งเราจะแบ่งออกมาเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่
- เงินค่าตกใจ จะเป็นเงินที่เราถูกเลิกจ้างโดยไม่แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30-60 วัน และนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษในการบอกล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างในช่วง 30 วันสุดท้าย หรือเท่ากับค่าจ้างในช่วง 60 วันสุดท้ายของการเป็นพนักงาน
- เงินชดเชยการถูกเลิกจ้าง ในกรณีให้ออกจากงานโดยที่ไม่ผิดและไม่ได้สมัครใจ ซึ่งพนักงานจะมีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าชดเชย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเงินเดือนและอายุของการทำงาน และหากเราทำงานในบริษัทนั้น ๆ เป็นเวลานานแล้ว ก็จะได้รับเงินชดเชยมากขึ้น
- กรณีที่ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี และจะได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างในอัตรา 30 วันสุดท้าย
- อายุงานตั้งแต่ 1-3 ปี จะได้รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
- อายุงานตั้งแต่ 3-6 ปี จะได้รับเงินชดเชยเท่ากันค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
- อายุงานตั้งแต่ 6-10 ปี จะได้รับเงินชดเชยเท่ากันค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
- อายุงานตั้งแต่ 10-20 ปี จะได้รับเงินชดเชยเท่ากันค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
- อายุงานตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยเท่ากันค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน
- กรณีที่เลิกจ้างเพราะปรับปรุงหน่วยงาน เป็นเหตุให้จะต้องลดจำนวนพนักงานลง หรือมีการเปลี่ยนเครื่องจักรเข้ามาทดแทน
หากไม่แจ้งพนักงานให้ทราบล่วงหน้า อย่างน้อย 60 วัน นายจ้างจะต้องชดเชยในอัตราจ้างอายุ 60 วันสุดท้ายที่ลูกจ้างได้รับ
หรือหากแจ้งล่วงหน้า นายจ้างก็จะจ่ายเป็นค่าจ้าง ดังนี้
- พนักงานที่ทำงานครบ 6 ปีขึ้นไป นายจ้างจะต้องชดเชยค่าจ้างปกติ
- พนักงานที่ทำงานครบ 1 ปี จะได้รับค่าจ้างตามผลงาน
- กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
4.1 ลูกจ้างลาออกเอง
4.2 ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
4.3 จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
4.4 ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
4.5 ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ซึ่งหนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
4.6 ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร
4.7 ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
4.8 กรณีการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้าง ตามกำหนดระยะเวลานั้น ได้แก่งานดังนี้
– การจ้างงานในโครงการ เฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือ การค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน
– งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว ที่มีกำหนดงานสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน
– งานที่เป็นไปตามฤดูกาล และได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้นซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยนายจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
ผู้ที่ถูกเลิกจ้าง จะต้องขอหนังสือรับรองการทำงานหรือไม่
เพราะการถูกเลิกจ้าง ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม ทั้งการลาออก เลิกจ้าง หรือกระทำความผิดใด ๆ ก็ตามทางบริษัทก็จะต้องหนังสือรับรองการทำงานให้กับพนักงานทุกกรณี ไม่อย่างนั้นบริษัทจะมีความผิดตามกฎหมาย
ในหนังสือรับรองการทำงานจะระบุเพียงตำแหน่งหน้าที่ หน่วยงานที่ทำ เริ่มทำงานที่บริษัทแห่งนี้เมื่อไร และสิ้นสุดเมื่อไร ทั้งหมดนี้เพื่อสิทธิของพนักงาน ดังนั้นจะต้องห้ามลืมเด็ดขาด
แล้วแบบนี้สิทธิประกันสังคมที่พนักงานทุกคนจ่ายไปทุกเดือน จะช่วยเราได้อย่างไร
กล่าวง่าย ๆ เลยว่า นอกจากเงินชดเชยที่ผู้ที่ถูกเลิกจ้างจะต้องชดเชยแล้วนั้น ทางประกันสังคมจะช่วยเหลือระหว่างที่เราว่างงาน ซึ่งเมื่อเราว่างงานแล้ว จะต้องไปขึ้นทะเบียนว่างงานภายในระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่ออกจากงาน และจะต้องมีเงื่อนไขว่าจะต้องจ่ายเงินสมทบติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ที่จะมีสิทธิในการขึ้นทะเบียนคนว่างงาน พร้อมกับได้รับเงินชดเชยในจำนวน 50% ของรายได้เป็นระยะเวลา 6 เดือน เช่น เงินเดือนของผู้ที่ประกันตน 15,000 บาท จะได้รับเงินชดเชยเป็นจำนวน 7,500 บาท