การออมเงินในวัย 30 ปี อาจจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง และมักจะเกี่ยวข้องกับการเงิน เช่น การใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งค่าบ้าน ค่ารถ ค่าประกัน รวมไปถึงค่ารักษาพยาบาลของพ่อแม่ รวมไปถึงของตนเอง เป็นเรื่องที่ต้องคิดและมีการวางแผนเป็นอย่างดี มีเป้าหมาย เพื่อการมีอนาคตที่สบายมากขึ้น และสามารถใช้ยามเกิดเหตุฉุกเฉินได้อย่างไม่ลำบาก บทความนี้จะมีทั้ง 3 วิธีที่น่าสนใจในวัย 30 ต้องอ่านและทำความเข้าใจ
1. ออมก่อนใช้จ่าย
เมื่อก้าวเข้าสู่เลข 3 ความมั่นคงก็จะต้องมี และการออมเงิน การมีเงินสำรองในชีวิตนั้นก็สำคัญอย่างมาก เพราะการมีเงินสำรองฉุกเฉิน เช่น การเกิดอุบัติเหตุ อาการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นตนเองหรือคนในครอบครัวก็ตาม เพราะเหตุการณ์เหล่านี้ก็ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร และไม่มีใครตั้งตัวเช่นกัน ดังนั้น การออมเงินนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก และมีควรมีเงินสำรองไว้อย่างน้อย 6 เดือน เช่น หากมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 15,000 บาท เราจำเป็นต้องมีเงินสำรองฉุกเฉินไว้ 90,000 บาท
การออมก่อนใช้ อาจจะเป็นการออมก่อนใช้งาน เมื่อเราได้เงินมาจากเงินเดือน รายได้จากช่องทางอื่น ๆ เราก็จะออมก่อนใช้ เช่น ออมเดือนละ 10 – 20% ของรายได้ เพื่อจะกันเงินส่วนนี้ไว้เพื่อไปใช้จ่ายรายเดือนในช่วงเวลาที่เราฉุกเฉิน ซึ่งการออมอาจจะออมเป็นการฝากออมทรัพย์ทั่วไป การออมแบบประเภทฝากประจำ การซื้อกองทุนประเภทความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ระยะสั้น เป็นต้น
2. วางแผนภาษี
การวางแผนภาษี เป็นการช่วยให้เราจ่ายภาษีลดลง จะใช้ในการลดหย่อนภาษีให้ถูกต้อง และใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี และช่วยประหยัดเงินสด ได้แก่ เข้าใจข้อบังคับเกี่ยวกับภาษี การจัดเก็บและการจัดการภาษีของตนเอง และประโยชน์หรือมาตรการที่ช่วยลดภาษี เป็นต้น
1. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนประเภทหนึ่งที่ลงทุนในหลักทรัพย์และสินทรัพย์ประเภทเดียวกับที่กองทุนรวมลงทุนได้ ตัวอย่างเช่น ตราสารหนี้ ธนบัตร หุ้นกู้ หุ้น หรือทองคำ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นกองทุนที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ และเป้าหมายของกองทุนประเภทนี้จะเป็นการออมเพื่อใช้ในยามเกษียณ จะเหมาะอย่างมาก แต่ก็จะมีเงื่อนไขในการซื้อกองทุน ซึ่งกองทุนประเภทนี้จะไม่มีการจ่ายเงินปันผลหรือเงินอื่น ๆ ให้แก่ผู้ลงทุนในระหว่างการลงทุน
เงื่อนไขการลงทุนประเภท RMF
- หากคุณซื้อกองทุนประเภทนี้แล้ว จะต้องซื้อทุกปีต่อเนื่อง 5 ปีขึ้นไป และอายุเกิน 55 ปี จึงจะสามารถขายกองทุนคืนได้
- การลงทุนขั้นต่ำ จะต้องเป็น 3% ของเงินที่ประเมิน หรือจำนวน 5,000 บาทหรือเลือกเป็นเงินจำนวนขั้นต่ำกว่า
ข้อดีของ RMF
- ผู้ลงทุนสามารถเลือกนโยบายลงทุนเองได้
- ผู้ลงทุนมีทางเลือกในการออมเพื่อเป็นหลักประกันสำหรับตนเองและครอบครัวเมื่อถึงวัยเกษียณ ซึ่งจะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขรายละเอียด ผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
2. ประกันชีวิต
การซื้อประกันชีวิตเป็นหนึ่งในวิธีที่คนส่วนใหญ่ใช้สำหรับการออมเงินเพื่ออนาคต เพราะได้ทั้งประโยชน์ทางด้านความคุ้มครองชีวิตแล้ว ยังสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ซึ่งเบี้ยประกันชีวิตที่มีความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไปสามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินปีละ 100,000 บาท
ประกันชีวิตแบบบำนาญเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีเป้าหมายเพื่อใช้ในช่วงวัยเกษียณ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการลดหย่อนภาษีได้ปีละ ไม่เกิน 200,000 ต่อปี และมีความคุ้มครองชีวิต แต่เมื่อนำประกันมารวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จะต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
3. ออมเงินเพื่อยามเกษียณ
สำหรับคนวัย 30 ปี จะมองว่าวัยเกษียณจะเป็นเรื่องไกลตัวอย่างมาก การเลือกออมเงินเพื่อยามเกษียณ จะต้องบริหารเวลาตั้งแต่ช่วงอายุยังน้อย สิ่งไหนสำคัญมาก สำคัญรองลงมา และไม่สำคัญเร่งด่วนทำไมเราจะต้องเตรียมตัวล่วงหน้า เพราะจะช่วยให้อนาคตมีชีวิตที่สบายมากขึ้น หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาก็จะไม่ลำบาก และจะไม่ทำให้ลูกหลานเดือดร้อนแน่นอน
การออมเงินเพื่อยามเกษียณมีหลายรูปแบบ ทั้งการลงทุนในพันธบัตร หุ้น ทองคำ หรือการลงทุนผ่านกองทุนรวม เช่น กองทุนผสม กองทุนหุ้น หองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และประกันชีวิต เป็นต้น ซึ่งแต่ละคนก็จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้
การจัดการระยะเวลาเงินและช่วงเวลาที่ออมได้ การออมเงินที่ถูกที่ก็จะทำให้ได้กำไรมากที่สุด เช่น ตั้งเป้าหมายว่าจะมีเงิน 1,000,000 บาท โดยออมเงินเดือนละ 3,000 บาท ในการลงทุนที่มีผลตอบแทนที่แตกต่างกัน ซึ่งผลตอบแทนเฉลี่ย 8% ต่อปี ซึ่งจะต้องเก็บเงินประมาณ 15 ปี ก็จะบรรลุเป้าหมายได้ ซึ่งหากเริ่มลงทุนตอนอายุ 30 ปี ก็จะบรรลุเป้าหมายในวัย 45 ปีเท่านั้นเอง
สรุปได้ว่า การวางแผนการเงินในช่วงวัย 30 ปี ก็จะทำให้เรามีเงินสำรองเลี้ยงชีพไว้ในยามเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการออมหรือลงทุนประเภทต่าง ๆ ก็อย่าลืมที่จะศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนอย่างละเอียด ทั้งเงื่อนไข ผลประโยชน์ผลตอบแทน และสิทธิพิเศษทางภาษี เพราะการลงทุนก็จะต้องควรปรับเปลี่ยนไปตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หรือการดำเนินการที่ผ่านมาก ซึ่งจะทำให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีมากขึ้น