สภาพคล่องทางการเงินนั้นเป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนประสบปัญหาและในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กก็จะประสบบ่อยมากที่สุด ดังนั้นเราจะต้องเข้าใจว่าธุรกิจ กิจการแบบไหนที่จะช่วยให้เราสามารถบริหารเงินสดสำรองได้ดีมากขึ้น และมีวิธีแบบไหนที่จะบริหารเงินได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้นเราจะต้องมาดูบทความนี้เลย
ปัญหาเรื่องสภาพคล่องทำให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางนั้นจะต้องปิดตัวลง และอาจจะทำให้กิจการหรือธุรกิจต้องสะดุดลงไป เพราะปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน แต่หลาย ๆ ครั้งก็อาจจะต้องถูกมองข้ามไปหรือละเลยไปได้
สภาพคล่องทางการเงินนั้นคืออะไร

เพราะไม่ว่าจะกิจการใด ๆ ก็ตาม จำเป็นต้องมีเงินสดสำรองไว้ใช้จ่ายในบริษัทเสมอ ได้แก่ ค่าใช่จ่าย ค่าจ้าง ค่าต้นทุน และค่าวัตถุดิบในการผลิตอื่น ๆ ซึ่งทำให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า กิจการหรือธุรกิจจะต้องจ่ายเงินไปก่อนเพื่อให้สินค้าและบริการนั้น ๆ สามารถผลิตออกมาได้ และบางรายก็ไม่สามารถเก็บเงินได้ทันที จะต้องให้เครดิตเทอม ดังนั้นหากกิจการบริหารจัดการไม่ดี ก็อาจจะเจอกับปัญหาสภาพคล่องได้เช่นกัน
มีหลักการในการจัดการสภาพคล่องดังนี้
1. สภาพคล่องกับการเข้าใจหลักการธรรมชาติของกิจการ
การทำความเข้าใจธรรมชาติของกิจการนั้น เพื่อช่วยลดโอกาสในการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เพราะไม่ว่าจะกิจการไหน ๆ ก็จะไม่ได้อยากเสี่ยงที่จะเจอกับปัญหาสภาพคล่อง ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องเข้าใจว่าช่วงไหนขายดี ช่วงไหนขายไม่ดี
ถ้าเป็นช่วง High Season ก็จะเป็นช่วงที่กิจการต้องผลิตสินค้าและบริการออกมามากเป็นพิเศษ และจำเป็นต้องเตรียมเงินสดสำรองไว้สำหรับผลิตเพิ่มด้วยเช่นกัน
ตัวอย่างเช่น กิจการรองเท้านักเรียน ในช่วงใกล้ ๆ เปิดเทอมใหม่ ก็จะเป็นช่วงขายดีอย่างมาก และมียอดขายที่พุ่งสูงขึ้น และแน่นอนว่าจะต้องมีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อทำให้มีกำลังผลิตที่สูงขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนค่าวัตถุดิบในการผลิต ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน เป็นต้น
ซึ่งรายจ่ายทั้งหมดนี้เป็นการจ่ายเงินออกไปค่อนข้างเร็ว แต่อย่าลืมว่าการขายของให้กับลูกค้านั้นจะต้องให้เครดิตยาว ซึ่งก็อาจจะยาวถึง 30 – 90 วันเลย ทำให้กิจการจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเตรียมเงินหมุนเวียนให้เพียงพอกับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นเช่นกัน
2. รู้จักวงเงินสด ช่วยกิจกรรมประเมินเงินสดสำรองได้ดีขึ้น

ก่อนอื่นเลย เราจะต้องรู้จัก “วงจรเงินสด” เป็นอัตราส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าระยะเวลาตั้งแต่เริ่มผลิตทั้งสินค้าและบริการ ใช้เวลากี่วันกว่าจะได้รับเงินกลับมา และเงินนั้นก็แบ่งเงินออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
- ระยะเวลาขายสินค้า (Inventory Conversion Period) = 365 ÷ อัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ
- ระยะเวลาเก็บหนี้ (Receivable Conversion Period) = 365 ÷ อัตราหมุนเวียนลูกหนี้การค้า
- ระยะเวลาชำระหนี้ (Payable Conversion Period) = 365 ÷ อัตราหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า
จะสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงที่จะขาดสภาพคล่องของกิจการ ซึ่งการใช้งานควรนำไปเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อให้เห็นถึงค่าเหมาะสมของ วงจรเงินสด (Cash Conversion Cycle) ว่าควรเป็นเท่าไหร่ เพราะในแต่ละอุตสาหกรรมก็มีลักษณะเฉพาะในการเรียกเก็บเงินจากลูกค้า รวมถึงลักษณะเฉพาะของสินค้าคงคลังที่ความเร็วในการหมุนอาจจะไม่เท่ากัน
มีหลักการคำนวณง่าย ๆ ได้แก่ วงจรเงินสด = ระยะเวลาในการผลิตจนของถึงมือลูกค้า + ระยะเวลาเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ – ระยะเวลาที่ต้องจ่ายเงินเจ้าหนี้
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เรามีเงินสดอยู่ในกิจการเท่าไร
ซึ่งอย่างแรกที่เราจะต้องรู้ก่อนว่า มีรายรับ รายจ่าย เพราะแน่นอนว่าจะต้องมีรายได้มากกว่ารายจ่ายเท่าไรดี หากกิจการมีรายจ่ายอยู่ 100,000 บาทต่อเดือนได้แก่ค่าเช่าสถานที่ แต่กิจการนั้น ๆ กลับมีรายได้เพียง 80,000 บาทต่อเดือน ดังนั้นทำให้เงินนั้นติดลบอยู่ 20,000 บาทต่อเดือนเลย ทำให้นอกจากจะไม่มีสภาพคล่องทางเงินสดแล้วนั้น ก็ไม่มีเงินคงเหลือเลย
3. ถ้ามีอำนาจต่อรองมากเท่าไร ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาสภาพคล่องให้กับทางกิจการได้มากขึ้น
ยิ่งถ้าเรามีกิจการที่มีเงินสดเป็นบวกมาก ๆ ก็จะทำให้เรามีเงินสดสำรองมากขึ้นไปด้วย ก็จะส่งผลให้กิจการนั้นมีสภาพคล่องมากขึ้นอีกเช่นกัน
- การขอเจรจาระยะเวลาในการจ่ายเงิน เพื่อทำให้เรานั้นจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้ได้ช้าที่สุด เป็นการช่วยยืดระยะเวลาวงจรเงินสดให้ดีมากขึ้น เพื่อทำให้เกิดสภาพคล่องและกระแสเงินสดมากขึ้น
- เจรจาลดระยะเวลาการจ่ายเงินจากลูกค้า ข้อนี้จะเป็นมุมของเจ้าของกิจการ เพื่อทำให้กิจการนั้นได้รับเงินสดจากทางลูกหนี้ได้ไวมากที่สุด ก็จะทำให้เรามีเงินสดสำรองเพื่อเป็นสภาพคล่องทางการเงินดียิ่งขึ้น
- เร่งกระบวนการผลิตให้เร็วมากขึ้น ยิ่งผลิตเร็วมากเท่าไร ก็จะยิ่งลดระยะเวลาวงจรเงินสดได้เร็วมากขึ้น และทำให้เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินได้เช่นกัน
มาถึงตรงนี้แล้ว เป็นอย่างไรบ้างการบริหารเงินอย่างไรไม่ให้สะดุด ก็เป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก เพื่อทำให้เรานั้นสามารถประเมินสภาพทางการเงินของกิจการของเรานั้นได้ในอนาคต และก็สามารถทำให้กิจการของเรานั้นดำเนินต่อไปได้อย่างไม่สะดุด พร้อมกับทำให้กิจการนั้นเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ อีกเสียด้วย และอย่างสุดท้ายก็จะช่วยทำให้กิจการนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นกัน